วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2559

รีวิวจากลูกค้า เครื่องพับโลหะแผ่น MURATA BH Series Dual Drive System BH8525

การลงทุนครั้งใหญ่ ขุมกำลังชุดใหม่ขยายกำลังการผลิตให้กับ บ โชคชัย เอ็นจิเนียริ่ง พี่เบิ้มแห่งวงการโลหะแผ่น เลือกใช้เครื่องพันช์ MURATA จาก ไอไอที กรุ๊ป ลงและติดตั้งเป็นที่เรียบร้อยกับเครื่องพันช์ MURATA รุ่น M2048TS พร้อมชุด Tapping อัตโนมัติ ออฟชั่นเต็ม ลงทีเดียวจัดไป 2 เซ็ต เพื่อตอบโจทย์การทำงานที่ไม่สิ้นสุดของลูกค้า ด้วยวิสัยทัศน์ที่มองการไกลของทีมผู้บริการของ โชคชั้ย เอ็นจิเนียริ่ง จึงให้ความสำคัญกับเครื่องจักร เทคโนโลยีที่ดี ซึ่งตอบโจทย์การทำงานได้เป็นอย่างดี และ การบริการหลังการขายที่รวจเร็ว ตรงจุด พร้อมเป็นที่ปรึกษา ที่จะเดินไปกับลูกค้า ทาง ไอไอที กรุ๊ป ขอขอบคุณที่ทางลูกค้าได้ให้ความไว้วางใจในเครื่องจักรของ ไอไอที กรุ๊ป













  
คุณ : Ekkachai IIT GROUP ตัวแทนจำหน่าย เครื่องพันช์ Murata / Turret punch Murata Muratec [วันจันทร์ที่ 29 

วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2559

เครื่องดี งานเดิน ทางไอไอที ดีใจกับทางลูกค้าที่ส่งมอบงานขนาดใหญ่ได้โดยไม่ติดขัดอะไร กับเครื่องม้วน ที่ทางไอไอทีจำหน่ายและติดตั้ง ดูแลการใช้งาน เพื่อให้ลูกค้าทำงานได้อย่างคุ้มค่าที่สุด เครื่องม้วนหนึ่งตัวทำได้ขนาดนี้ ใครหาอยู่สะกิดมาได้เลยคับ เครื่องจักรดีๆ งานบริการดีๆ ไอไอที กรุ๊ปที่เดียวคับ  




สนใจติดต่อ ทีมขาย คุณเอกชัย 084-7711559 id line jame310140 เครื่องจักรงานโลหะแผ่นใว้ใจเรา ไอไอที ครับ ชื่อนี้การันตีคุณภาพและบริการ
เราพร้อมให้บริการ คำแนะนำ ปรึกษา เกียวกับ เครื่องพันช์ Murata เครื่องพับ เครื่องตัด เครื่องปั้ม เครื่องม้วน Turret Punch Press Murata Mutatec

วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2559

วัสดุศาสตร์และวัสดุวิศวกรรม
ในปัจจุบันไม่ว่าวิศวกร นักวิทยาศาสตร์ หรือนักเทคโนโลยีล้วนต้องเกี่ยวข้องกับวัสดุ(materials) อยู่เสมอทั้งในเชิงของผู้ใช้วัสดุ ผู้ผลิตและผู้ควบคุมกระบวนการผลิต ตลอดจนผู้ออกแบบทั้งในรูปแบบ องค์ประกอบ และโครงสร้าง บุคคลเหล่านี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเลือกใช้วัสดุให้เหมาะสมถูกต้องจาก สมบัติของวัสดุเหล่านั้น นอกจากนี้ยังจะต้องสามารถวิเคราะห์ได้ว่า เมื่อมีความผิดปกติเกิดขึ้นมันเป็นเพราะเหตุใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้มีความ ก้าวหน้าไปอย่างมาก วัสดุใหม่ๆถูกผลิตขึ้น คุณสมบัติพิเศษๆก็ถูกค้นคว้าขึ้นมากมาย กระบวนการผลิตก็สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ราคาของวัสดุนั้นต่ำลง ความรู้เกี่ยวกับวัสดุ จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกคนควรจะได้รับรู้ไว้บ้าง
1.1 วัสดุและวิศวกรรม
วัสดุ คือ สสารที่ประกอบและทำขึ้นด้วยสารบางอย่างซึ่งเป็นสารเคมี ตั้งแต่อารยธรรมได้เริ่มขึ้น มนุษย์ได้รู้จักใช้วัสดุพร้อมกับพลังงานเพื่อช่วยทำให้มาตรฐานความเป็นอยู่ ของชีวิตดีขึ้นมาโดยตลอด จะเห็นได้ว่าวัสดุทั้งหลายที่อยู่รอบๆตัวเราล้วนเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นมา จากวัสดุทั้งสิ้น วัสดุที่เราพบเห็นอยู่ทั่วไป เช่น ไม้ คอนกรีต อิฐ เหล็กกล้า พลาสติก แก้ว ยาง อะลูมิเนียม ทองแดง และกระดาษ เป็นต้น ถ้าเราดูไปรอบตัวของเราจะเห็นวัสดุมีมากมายหลากหลายชนิด ทั้งนี้เพราะการวิจัยและพัฒนาได้ผลิตวัสดุใหม่ๆออกมาอย่างต่อเนื่อง ผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตวัสดุให้ออกมาเป็นวัสดุสำเร็จรูป จัดว่าเป็นส่วนที่สำคัญในสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน วิศวกรมีหน้าที่ออกแบบผลิตภัณฑ์และระบบของกระบวนการผลิตเป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์ที่จะต้องผลิตต้องรู้ว่าประกอบด้วยวัสดุต่างๆอะไรบ้าง วิศวกรต้องมีความรู้ทั้งในเรื่องของโครงสร้างภายในและสมบัติของวัสดุ เพื่อที่จะได้สามารถเลือกใช้วัสดุได้อย่างเหมาะสม และยังสามารถที่จะพัฒนากระบวนการผลิตหรือวิธีทำให้ดีที่สุดได้
งานของวิศวกรทางด้านการวิจัยและพัฒนาจะช่วยสร้างวัสดุใหม่ๆขึ้นมา หรือปรับปรุงสมบัติของวัสดุเดิมให้ดียิ่งขึ้น วิศวกรผู้ออกแบบจะเลือกใช้วัสดุที่มีอยู่ปรับปรุงให้ดีขึ้น หรือใช้วัสดุชนิดใหม่ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ชนิดใหม่และสร้างระบบใหม่ บางครั้งในทางตรงกันข้าม วิศวกรผู้ออกแบบเกิดปัญหาในการออกแบบที่จำเป็นต้องใช้วัสดุชนิดใหม่ที่คิด ค้นจากนักวิจัยและวิศวกร ตัวอย่างเช่น การออกแบบเครื่องบินขนส่งที่มีความเร็วสูงกว่ากว่าเสียง คือ X-30 วิศวกรผู้ออกแบบจะต้องพัฒนาวัสดุชนิดใหม่ให้สามารถทนต่ออุณหภูมิสูงถึง 1800C(3250F) ได้โดยที่ขณะบินด้วยความเร็วสูง 12 ถึง 15 เท่าของความเร็วเสียง(12-25Mach) วัสดุที่ได้มีการศึกษาเพื่อใช้กับ X-30 ชนิดหลังสุด(1993)มีหลายชนิด เช่น เส้นใยซิลิกอนคาร์ไบด์เสริมแรงเข้ากับโลหะผสมของไทเทเนียม ชื่อ Timetal 215 เพื่อใช้ทำโครงสร้างที่สามารถรับน้ำหนักและหล่อลื่น วัสดุผสมของคาร์บอน-คาร์บอนใช้ทำอุปกรณ์ของระบบป้องกันความร้อน วัสดุผสมของเส้นใยคาร์บอนกับอีพอกซีใช้ทำถังใส่เชื้อเพลิง
งานที่ท้าทายวิศวกรอีกประเภทหนึ่งคือ การสร้างสถานีอวกาศถาวร เพื่อให้มนุษย์ขึ้นไปอยู่ปฏิบัติงานในอวกาศได้ มีโครงการอันหนึ่งที่เสนอการประกอบโครงสร้างหลักของสถานีอวกาศ โดยทำเป็นคานรูปตัวไอ(I) ที่ขณะโคจรอยู่รอบโลก และเครื่องรับส่งสัญญาณทำด้วยวัสดุผสมพวกพอลิอีเทอร์อิไมด์ และพอลิอีเทอร์อีเทอร์คีโทน
การค้นคว้าหาวัสดุชนิดใหม่ๆยังคงดำเนินต่อไป เช่น วิศวกรเครื่องกลพยายามค้นหาวัสดุที่ทนอุณหภูมิสูงมากขึ้นเพื่อนำไปสร้าง เครื่องยนต์ไอพ่นที่มีประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้น วิศวกรไฟฟ้าก็ค้นหาวัสดุชนิดใหม่ๆเพื่อสร้างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถ ทำงานได้รวดเร็วยิ่งขึ้น และใช้ที่อุณหภูมิสูงได้ วิศวกรการบินก็ค้นหาวัสดุที่มีความแข็งแรงมากขึ้นแต่น้ำหนักเบา เพื่อใช้สร้างเครื่องบินและยานอวกาศ วิศวกรเคมีต้องการวัสดุที่ทนทานต่อการผุกร่อนได้ดี จากตัวอย่างที่ยกมาให้ดู 2-3 ตัวอย่างว่าวิศวกรสาขาต่างๆ ล้วนต้องการค้นหาวัสดุใหม่ที่มีคุณภาพมากขึ้น เพื่อการประยุกต์ต่อไป มีหลายกรณีที่ในอดีตทำไม่ได้ แต่ในปัจจุบันสามารถทำได้แล้ว
1.2 วัสดุศาสตร์และวัสดุวิศวกรรม
วัสดุศาสตร์(Materials Science) เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวกับการค้นคว้าหาความรู้ขั้นพื้นฐาน(basic knowledge) เกี่ยวกับลักษณะของโครงสร้างภายใน สมบัติต่างๆ และกระบวนการผลิตวัสดุเหล่านั้น
วัสดุวิศวกรรม(Materials Engineering) เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นด้านหลักของการใช้หลักการพื้นฐานและการ ประยุกต์ความรู้ของวัสดุ เพื่อปรับปรุงสมบัติแล้วนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องการได้ หรือให้เป็นไปตามความต้องการของสังคม
ดังนั้นชื่อของวิชา materials science and engineering นี้จึงได้มาจากการรวมกันของทั้ง materials science และ materials engineering วัสดุศาสตร์เป็นความรู้พื้นฐานทั้งหมดของวัสดุ และวัสดุวิศวกรรมเป็นการประยุกต์ความรู้ทั้งหมดให้เป็นประโยชน์ดั้งนั้นวิชา ทั้งสองนี้จึงไม่มีเส้นแบ่งขอบเขตอย่างชัดเจน
1.3 ประเภทของวัสดุ
เพื่อให้ง่ายต่อการศึกษาและสะดวกขึ้น วัสดุวิศวกรรมส่วนมากจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆด้วยกัน คือ ประเภทโลหะ พอลิเมอร์(พลาสติก) และเซรามิก ในบทนี้จะได้กล่าวถึงความแตกต่างของวัสดุทั้งสามตามสมบัติที่สำคัญ ของมันคือ สมบัติเชิงกล สมบัติทางไฟฟ้า และสมบัติทางกายภาพ และต่อไปจะได้กล่าวถึงความแตกต่างของโครงสร้างภายในของวัสดุประเภทต่างๆ เหล่านี้ และอาจจะเพิ่มเติมอีก 2 ประเภทคือ วัสดุผสม และวัสดุอิเล็กทรอนิกส์ อีกด้วย เพราะเป็นวัสดุที่มีความสำคัญมากทางวิศวกรรม
1.4 การแข่งขันกันระหว่างวัสดุประเภทต่างๆ
การแข่งขันกันของวัสดุประเภทต่างๆ เพื่อให้ความต้องการใช้ยังคงอยู่ และเพื่อเปิดตลาดใหม่ขึ้นนั้น ในช่วงหลายปีที่ผ่านมามีแนวโน้มสูงมาก มีปัจจัยหลายๆอย่างเกิดขึ้น เพื่อจะนำวัสดุอย่างหนึ่งไปใช้แทนวัสดุเดิมให้เป็นไปตามลักษณะของงานอันแท้ จริง ปัจจัยแรกที่สำคัญคือค่าใช้จ่าย ถ้ามีการค้นพบกระบวนการผลิตวัสดุอย่างหนึ่งได้ในราคาที่ถูกลง ผลที่ตามมาก็คือวัสดุชนิดนี้อาจนำไปใช้แทนวัสดุเดิมในบางกรณีได้ อีกปัจจัยหนึ่งที่ต้องเปลี่ยนไปใช้วัสดุอื่นแทนก็คือ มีการพัฒนาวัสดุชนิดใหม่ขึ้นซึ่งมีสมบัติพิเศษเหมาะที่จะนำไปใช้งานบางอย่าง ได้ดีกว่า จากเหตุผลดังกล่าวนี้ทำให้การใช้วัสดุมีการเปลี่ยนแปลงตลอดช่วงเวลาที่ผ่าน มา
1.5 สมบัติและการเลือกใช้วัสดุ
การเลือกใช้วัสดุให้เหมาะสมกับงานนั้นจำเป็นจะต้องศึกษา หรือพิจารณาจากสมบัติของวัสดุนั้นให้มันตรงกับงานที่ออกแบบ หรือที่ต้องการทำจากวัสดุต่างๆซึ่งมีอยู่มากมาย และวิศกรสามารถส่งตัวอย่างไปวิเคราะห์สมบัติองค์ประกอบได้จากศูนย์เครื่อง มือหรือศูนย์ทดสอบ ซึ่งมีอยู่หลายแห่งด้วยกัน เพื่อประหยัดเวลาและการลงทุน
1.6 แนวโน้มการใช้วัสดุในอนาคต
1.วัสดุประเภทโลหะ การผลิตโลหะที่เป็นพื้นฐานที่สำคัญในสหรัฐอเมริกา ได้แก่ เหล็กกล้า อะลูมิเนียม ทองแดง สังกะสี และแมกนีเซียม ได้รับการคาดหมายว่าจะต้องเป็นไปตามสภาวะเศรษฐกิจค่อนข้างมาก แม้ว่าโลหะที่ผลิตอยู่ในปัจจุบันจะได้รับการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นในเชิงของทาง เคมี การควบคุมองค์ประกอบและเทคนิดของกระบวนการผลิตก็ตามโลหะผสมที่ได้รับการ พัฒนาขึ้นใหม่เพื่อใช้ในโครงการอวกาศ เช่น โลหะผสมนิกเกิลที่ทนทานต่ออุณหภูมิสูงกำลังได้รับการค้นคว้าวิจัยอย่างต่อ เนื่อง เพื่อเพิ่มความแข็งแรงเมื่อใช้อุณหภูมิสูงและทนทานต่อการกัดกร่อนยิ่งขึ้น โลหะผสมเหล่านี้ได้นำไปใช้สร้างเครื่องยนต์ไอพ่นที่มีประสิทธิภภาพสูงขึ้น และสามารถทำงานได้ที่อุณหภูมิสูงขึ้นไปอีก กระบวนการผลิตที่ใช้เทคนิคใหม่ เช่น ใช้ hot isostatic pressing และ isothermal forging สามารถช่วยยืดอายุของการเกิดความล้าของโลหะผสมที่ใช้กับเครื่องบิน นอกจากนี้ยังมีการใช้เทคนิคการถลุงโลหะด้วยโลหะผง ทำให้สมบัติโลหะผสมมีการปรับปรุงให้ดีขึ้น และทำให้ราคาของการผลิตลดลงอีกด้วย เทคนิคการทำให้โลหะแข็งตัวอย่างรวดเร็วโดยทำให้โลหะที่หลอมเหลวลดอุณหภูมิลง ประมาณ 1 ล้านองศาเซลเซียสต่อวินาทีกลายเป็นโลหะผสมที่เป็นผง จากผงโลหะผสมเปลี่ยนให้เป็นแท่งด้วยกระบวนการต่างๆ เช่น hot isostatic pressing เป็นต้น ด้วยวิธีการเหล่านี้ทำให้สามารถผลิตโลหะที่ทนทานต่ออุณหภูมิสูงชนิดใหม่ได้ หลายชนิด เช่น nickel-based supperalloys, aluminium alloys และ titanium alloys
2.วัสดุประเภทพอลิเมอร์(พลาสติก)จากเหตุการณ์ที่ผ่านมาวัสดุพอลิเมอร์ (พลาสติก) มีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็วมาก ด้วยอัตราการเพิ่มขึ้น 9% ต่อปี โดยน้ำหนัก แม้ว่าอัตราการเติบโตของพลาสติกจากปี 1995 ได้มีการคาดหมายว่าโดยเฉลี่ยแล้วจะลดลงต่ำกว่า 5% การลดลงนี้ก็เพราะว่าพลาสติกได้ถูกนำมาใช้แทนโลหะ แก้วและกระดาษเป็นผลิตภัณฑ์หลักในตลาดแล้ว เช่น ใช้ทำบรรจุภัณฑ์ และใช้ในการก่อสร้างซึ่งพลาสติกเหมาะสมกว่า
พลาสติกที่ใช้งานทางวิศวกรรม เช่น ไนลอน ได้รับความคาดหมายว่าน่าจะเป็นคู่แข่งกับโลหะได้อย่างน้อยจนถึง ค.ศ.2000 แนวโน้มที่สำคัญในการพัฒนาพลาสติกวิศวกรรม คือ การผสมผสานพลาสติกต่างชนิดกันเข้าด้วยกันให้เป็นพลาสติกผสมชนิด ใหม่(synergistic plastic alloy) ตัวอย่างเช่น ในช่วงปี 1987 ถึง 1988 ได้มีการผลิตพลาสติกชนิดใหม่ๆพลาสติกผสมและสารประกอบตัวใหม่จากทั่วโลก ประมาณ 100 ชนิด พลาสติกผสมชนิดใหม่มีประมาณ 10%

3.วัสดุประเภทเซรามิก ในอดีตการเจริญเติบโตของการใช้เซรามิกสมัยเก่า เช่น ดินเหนียว แก้วและหินในอเมริกาเท่ากับ 3.6%(1966-1980) อัตราการเจริญเติบโตของวัสดุเหล่านี้จากปี 1982 ถึง 1995 คาดว่าจะประมาณ 2%ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาเซรามิกวิศวกรรมตระกูลใหม่ได้ผลิตขึ้น ซึ่งเป็นสารประกอบพวกไนไตรต์ คาร์ไบด์ และออกไซด์ ปรากฏว่าวัสดุเหล่านี้ได้นำไปประยุกต์อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะใช้กับอุณหภูมิสูงๆ และใช้กับเซรามิกอิเล็กทรอนิกส์วัสดุเซรามิกมีราคาถูกแต่การนำไปผลิตเป็น ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปมักใช้เวลานาน และมีค่าใช้จ่ายสูง วัสดุเซรามิกส่วนใหญ่จะแตกหักหรือชำรุดได้ง่ายจากการกระแทก เพราะมีความยืดหยุ่นน้อยหรือไม่มีเลย ถ้ามีการค้นพบเทคนิคใหม่ที่สามารถพัฒนาให้เซรามิกทนต่อแรงกระแทกสูงๆได้แล้ว วัสดุประเภทนี้สามารถนำมาประยุกต์ทางวิศวกรรมได้สูงยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในส่วนที่ต้องใช้อุณหภูมิสูงและในบริเวณสิ่งแวดล้อมที่มีการกัด กร่อนสูง
4.วัสดุผสมพลาสติกที่มีการเสริมแรงด้วยเส้นใย เป็นวัสดุผสมหลักที่ใช้กันในอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่จะใช้เส้นใยแก้วมากกว่าเส้นใยทั่วไป พอลิเอสเทอร์ที่ไม่อิ่มตัว เป็นตัวเรซิ่นที่สำคัญที่ใช้ทำพลาสติกเสริมแรงด้วยใยแก้วหลายชนิด การใช้วัสดุประเภทนี้ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น จาก 1407 ล้านปอนด์ (640 ล้านกิโลกรัม) ในปี 1991 เป็น 1467 ล้านปอนด์ (667 ล้านกิโลกรัม) ในปี 1992 ซึ่งเพิ่มมากขึ้นประมาณ 4 เปอร์เซ็นต์
วัสดุผสมขั้นสูงได้แก่ อีพอกซีเสริมแรงด้วยเส้นใยแก้ว(fiberglass-epoxcy) และแกรไฟต์-อีพอกซี นับวันจะมีความสำคัญมากยิ่งขึ้นตลอดเวลาในการใช้เป็นโครงสร้างหลักที่มี สมรรถนะสูง ได้มีการทำนายกันว่าในอนาคตวัสดุชนิดนี้จะมีการใช้เพิ่มขึ้น โดยเฉลี่ยต่อปีประมาณ 7.5% เครื่องบินโดยสารที่ทันสมัยได้มีการใช้วัสดุชนิดนี้มากขึ้น ตัวอย่างเช่น เคื่องบิน 777 รุ่นใหม่ ซึ่งจะนำออกใช้ในปี 1995 ได้มีการใช้วัสดุผสมประมาณ 10% โดยน้ำหนัก
5.วัสดุอิเล็กทรอนิกส์ตั้งแต่ปี 1970 ได้มีการนำซิลิคอนและวัสดุกึ่งตัวนำอื่นๆในสถานะของแข็ง(solid-state) และไมโครอิเล็กทรอนิกส์มาใช้เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล และคาดว่าจะมีการใช้เพิ่มขึ้นต่อไปเรื่อยๆจนเลยปี 2000 ได้มีการคาดคะเนกันว่าการใช้แผงวงจรรวมที่ทำจากซิลิกอนชิพ(siliconchips) จะมีบทบาทอย่างมากต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในอุตสาหกรรม หุ่นยนต์ที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์จะมีผลต่ออุตสาหกรรมที่ทันสมัยยังคงจะต้อง ทำต่อไป ไม่ต้องสงสัยเลยว่าในอนาคตวัสดุอิเล็กทรอนิกส์จะต้องมีบทบาทที่สำคัญมากๆต่อ โรงงานอุตสาหกรรม ด้วยการใช้หุ่นยนต์ที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ทำงาน
หลายปีที่ผ่านมาวงจรรวม(integrated circuits) ได้สร้างขึ้นด้วยการบรรจุทรานซิสเตอร์ลงในซิลิคอนชิพเดียวมีปริมาณมากขึ้นๆ ซึ่งเท่ากับเป็นการลดขนาดของทรานซิสเตอร์ลง
3วิธี การป้องกันอันตรายจากเครื่องจักร
ผู้ที่ปฏิบัติงานกับเครื่องจักรควรที่จะเรียนรู้หลักเบื้องต้นในการควบคุมดูแลให้เครื่องจักรทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัย ดังต่อไปนี้
1. อย่าใช้เครื่องจักรก่อนการเรียนรู้
อย่าใช้เครื่องจักรที่ไม่ได้รับมอบหมายให้ทำโดยเด็ดขาด เพราะการดูแลจากคนอื่นเท่านั้นไม่เพียงพอที่จะลงมือทำเองได้ จะต้องศึกษากลไกต่าง ๆ ของเครื่องจักรนั้น จากผู้ชำนาญในการใช้เครื่องจักรนั้น ให้ดีเสียก่อนดังนั้นถ้าเป็นคนงานใหม่ ต้องได้รับการฝึกให้ทำงานกับเครื่องจักรนั้นโดยมรการควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิดจากผู้ชำนาญงาน
2. อย่าซ่อมเครื่องจักรก่อนการเรียนรู้
เมื่อเครื่องจักรเกิดชำรุดขึ้นควรหาช่างผู้ชำนาญงานเป็นผู้ซ่อมแซมเครื่องจักรนั้น ไม่ควรทดลองแก้เองเพราะอาจทำให้เครื่องจักรนั้นชำรุดมากขึ้น หรืออาจได้รับอันตรายจากเครื่องจักรนั้นได้
3. อย่าถอดอุปกรณ์ป้องกันอันตราย
อย่านำเครื่องป้องกันหรือการ์ดซึ่งปิดครอบส่วนที่เคลื่อนที่ได้ของเครื่องจักรออก เว้นเสียแต่ในกรณีที่มีการซ่อมแซมหรือปรับเสร็จเรียบร้อยแล้ว







ในงานโลหะแผ่นนั้น นอกจากงานพันซ์ที่ต้องใช้ทูลสำหรับงานพันซ์โดยเฉพาะแล้ว เพื่อจะให้ได้ชิ้นงานที่สมบูรณ์ออกมานั้น จำเป็นต้องมีอีกหนึ่งกระบวนการ นั่นก็คือ งานพับโลหะแผ่น ซึ่งจะต้องอาศัยทูลพับโดยเฉพาะ ที่นิยมเรียกว่า พันซ์ (Punch) และ ดาย (Die) โดยใช้การกดของพันซ์ (Punch) ลงมาที่ ดาย (Die) และมีโลหะแผ่นอยู่ระหว่าง พันซ์และดาย ตามภาพประกอบ


ลักษณะการพับอาจไม่มีแค่พับให้เป็นฉากอย่างเดียว แต่ยังสามารถออกแบบได้ตามความต้องการ ไม่ว่าจะเป็น พับเป็นส่วนโค้ง หรือพับเป็นรูปตัวเอส เป็นต้น

ทั้งนี้ในการพับวัสดุต่างชนิด ต่างความหนา ก็จะใช้แรงกดไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับวัสดุนั้นๆ และช่วงของการพับ เช่น
SPCC 1.0t ยาว 1000 มิลลิเมตร จะใช้แรงกดพับอยู่ประมาณ 80 kN หรือประมาณ 8 ตัน นั่นเอง
และจุดที่สำคัญอีกหนึ่งนั่นก็คือ Punch และ Die ก็ต้องทนแรงกดพับได้เช่นกัน ตารางด้านล่างแสดงให้เห็นถึง แรงกดพับต่อความหนาของวัสดุที่ต่างกัน



สอบถามความรู้เพิ่มเติมได้ที่ suthipong@iitgroup.in.th
#MURATA #MURATEC #PRESSBRAKE #PUNCH #DIE
งานกลึง ก็มี มิลลิ่ง ก็มา ของลงวันนี้ครับ เครื่องกลึง เครื่องมิลลิ่ง เปิดมาอีกตู้ สนใจแจ้งได้เลยคับ ไต้หวันแท้ๆไม่มีย้อมแมว พร้อมส่ง ติดตั้ง เทรนนิ่ง ติดต่อทีมขายได้เลยครับ






วันพุธที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ยกทัพใหญ่มาลุย เครื่องพันช์ Murata มือสองมากมายหลายรุ่นมาให้เลือกกันมากมาย พร้อมให้ทางลูกค้าเลือกได้เลยครับ ราคาเริ่มต้นตั้งแต่ไม่ถึงสองล้านครับ พร้อมรับประกันสามเดือน ลงทะเบียนเครื่องจักรกับ Murata ที่ประเทศญี่ปุ่น อะไหล่และการซ่อมบำรุงไม่ต้องห่วงครับ เพราะเราเป็นตัวแทนขายและซ่อมบำรุงอย่างเป็นทางการ พร้อมทีมงานที่ได้รับการอบรมมาอย่างดี ขายแล้วไม่มีทิ้งกันครับ ดูแลกันไปยาวๆ สนใจติดต่อ ทีมขาย คุณเอกชัย 084-7711559 id line jame310140 เครื่องจักรงานโลหะแผ่นใว้ใจเรา ไอไอที ครับ ชื่อนี้การันตีคุณภาพและบริการ
เราพร้อมให้บริการ คำแนะนำ ปรึกษา เกียวกับ เครื่องพันช์ Murata เครื่องพับ เครื่องตัด เครื่องปั้ม Turret Punch Press Murata Mutatec







 มาตามคำเรียกร้องครับ เครื่องตัดเลเซอร์ Mitsubishi มือสอง ตอบสนองกับสภาวะลดต้นทุนตอนนี้ ต้นทุนถูก คืนทุนไว ยกทัพมาจากญี่ปุ่น อยากได้รุ่นไหนแจ้งมาครับจัดหาให้ได้ครับ สะกิดมาเลยครับ ราคามิตรภาพ พร้อมการดูแลหลังการขายด้วยทีมงานที่มีความรู้ความเชียวชาญครับ ขายแล้วไม่มีทิ้งกันครับ ดูแลกันไปยาวๆ สนใจติดต่อ ทีมขาย คุณเอกชัย 084-7711559 id line jame310140 เครื่องจักรงานโลหะแผ่นใว้ใจเรา ไอไอที ครับ ชื่อนี้การันตีคุณภาพและบริการ



สนใจปรึกษาและสอบถามได้ที่ เอกชัย ไอไอที กรุ๊ป 084-7711559 / id line jame310140 หรือ www.iitgroup.in.th

เราพร้อมให้บริการ คำแนะนำ ปรึกษา เกียวกับ เครื่องพันช์ Murata เครื่องพับ เครื่องตัด เครื่องปั้ม Turret Punch Press Murata Mutatec

‪#‎Mitsubishi‬#murata#muratec#เครื่องเลเซอร์#เครื่องพันช์#เครื่องพับ

เครื่องเจียระไนลับคมตัดและงานลับเครื่องมือตัดเครื่องเจียระไนลับคมตัด

 เครื่องเจียระไนลับคมตัด
เครื่องเจียระไนลับคมตัดและงานลับเครื่องมือตัดเครื่องเจียระไนลับคมตัด เป็นเครื่องมือกล
พื้นฐานชนิดหนึ่งที่มีประโยชน์มากสามารถทำงานได้อย่างกว้างขวาง เช่น ใช้สำหรับลับคมตัดต่าง ๆ 
ของเครื่องมือตัด ได้แก่มีดกลึง มีดไส ดอกสว่าน และยังสามารถเจียระไนตกแต่งชิ้นงานต่าง ๆ ได้โดย
คำนึงถึงเรื่องความปลอดภัย
1. ชนิดของเครื่องเจียระไนลับคมตัด
เครื่องเจียระไนลับคมตัดโดยทั่ว ๆ ไป แบ่งออกเป็น ชนิด คือ เครื่องเจียระไนแบบตั้งโต๊ะและเครื่อง
เจียระไนแบบตั้งพื้น
         1.1 เครื่องเจียระไนแบบตั้งโต๊ะ (Bench Grinding) เครื่องเจียระไนชนิดนี้จะยึดติดอยู่กับโต๊ะเพื่อเพิ่ม
ความสูงและสะดวกในการใช้งานภาพ
         1.2  เครื่องเจียระไนแบบตั้งพื้น (Floor Grinding) เป็นเครื่องเจียระไนลับคมตัดที่มีขนาดใหญ่กว่าแบบตั้งโต๊ะ มีส่วนที่เป็นฐานเครื่  อง เพื่อใช้ยึดติดกับพื้นทำให้เครื่องเจียระไนมีความมั่นคงแข็งแรงกว่าเครื่องเจียระไนแบบตั้งโต๊ะ
2. ส่วนประกอบของเครื่องเจียระไนลับคมตัด
โดยทั่ว ๆ ไปของเครื่องเจียระไนตั้งพื้น จะมีส่วนประกอบดังนี้
มอเตอร์ (Motor)
ล้อหินเจียระไน (Grinding Wheel)
ฝาครอบล้อหิน (Wheel Guard)
แผ่นกระจกนิรภัย (Safety Glass)
แท่นรองรับงาน (Tool Rest)
ถังน้ำหล่อเย็น (Water Pot)
สวิตซ์เครื่อง (Switch)
ฐานเครื่อง (Base)

                 2.1 มอเตอร์ (Motor) เป็น ส่วนสำคัญของเครื่องเจียระไนลับคมตัด ทำหน้าที่ส่งกำลังให้ล้อหินเจียระไนหมุน เครื่องเจียระไนลับคมตัดมีมอเตอร์เป็นรูปทรงกระบอกโดยปลายแกนเพลาทั้งสอง ข้างใช้จับยึดล้อหินเจียระไน มอเตอร์ส่วนใหญ่จะใช้แรงดันไฟฟ้า 220 โวลต์ หรือ 380 โวลต์
         2.2 ล้อหินเจียระไน (Grinding Wheel) จะมีอยู่ ลักษณะ คือ ล้อหินเจียระไนชนิดหยาบและล้อหินเจียระไนชนิดละเอียด จะยึดติดอยู่อย่างละข้างของแกนมอเตอร์โดยจะมีล้อหินเจียระไนชนิดหยาบเพื่อ เจียระไนหยาบช่วยให้เจียระไนได้เร็วขึ้น และอีกข้างหนึ่งจะใช้จับยึดล้อหินเจียระไนชนิดละเอียดเพื่อใช้เจียระไนผิว เรียบเพื่อเป็นการเจียระไนขั้นสุดท้าย ในการเลือกใช้ล้อหินเจียระไนจะต้องเลือกล้อหินเจียระไนให้ตรงกับชนิดวัสดุ ของมีดตัดที่จะนำมาลับเพราะวัสดุทำมีดตัดมีหลายประเภท เช่น มีดกลึงเหล็กรอบสูง (High Speed Steel) มีดกลึงคาร์ไบด์หรือมีดเล็บ (Carbide Tool)
การเลือกล้อหินเจียระไนลับคมตัดต้องคำนึงถึงขนาดของล้อหินเจียระไนด้วยว่าเครื่องเจียระไนระบุให้ใช้ล้อหินขนาดเท่าใด สิ่งที่ต้องทราบก็คือ
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางโตนอกของล้อหินเจียระไน
ความหนาของล้อหินเจียระไน
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางรูในของล้อหินเจียระไน
3. เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการเจียระไนลับคมตัด
เครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการลับคมตัดของเครื่องมือตัดชนิดต่าง ๆ เช่น การลับมีดกลึง มีดไส และลับดอกสว่าน จำเป็นจะต้องมีเครื่องมือและอุปกรณ์อื่น ๆ ที่สำคัญเพิ่มเติมอีกดังนี้
                           3.1 ใบวัดมุม (Angle Protractor) เป็นเครื่องมือวัดมุมสำหรับวัดมุมของเครื่องมือวัด เช่น มีดกลึง มีดไส ใบวัดมุมสามารถวัดมุมได้ตั้งแต่ 0-180 องศา
4. ประโยชน์ของเครื่องเจียระไนลับคมตัด
เป็นเครื่องมือที่ช่วยทุ่นแรง ประหยัดเวลา สามารถใช้ประโยชน์หลายอย่าง เช่น
          4.1 ใช้ลับคมตัดต่าง ๆ ได้หลายชนิด เช่น ลับมีดกลึง ลับมีดไส ลับคมสกัด และลับคมมีดทั่วไป
          4.2 ใช้เจียระไนส่วนที่ไม่ต้องการออก เช่น รอยเชื่อม รอยเยิน ผิวชิ้นงานที่ไม่เรียบ
          4.3 เครื่องเจียระไนบางเครื่องอาจดัดแปลงเป็นเครื่องขัดผิวชิ้นงาน เช่น ขัดผิวชิ้นงานชุบเคลือบผิวโครเมียม โดยเปลี่ยนล้อหินเป็นล้อขดลวดหรือผ้าขัด
5. ความปลอดภัยในการใช้เครื่องเจียระไน
          5.1 ตรวจสอบความพร้อมของเครื่องเจียระไนก่อนเปิดเครื่องใช้งานทุกครั้ง เช่น ตรวจสอบระบบไฟฟ้า ล้อหินเจียระไน ฝาครอบล้อหินเจียระไน ฯลฯ เป็นการตรวจสอบว่าอุปกรณ์ต่าง ๆ ดังกล่าวอยู่ในสภาพที่พร้อมจะใช้งานและมีความปลอดภัยหรือไม่
          5.2 การแต่งกายต้องรัดกุม ไม่รุ่มร่าม ไม่ผูกเน็กไท ผมไม่ยาวรุงรัง
          5.3 ต้องสวมแว่นตานิรภัยทุกครั้งที่ปฏิบัติงาน
          5.4 จะต้องมีกระจกนิรภัยและอยู่ในสภาพพร้อมที่จะใช้งาน เพื่อป้องกันเศษโลหะกระเด็นเข้าตา
          5.5 ต้องปรับระยะห่างแท่นรองรับงานให้อยู่ในระยะห่างไม่เกิน มม. ป้องกันชิ้นงานหลุดเข้าไปขัดกับล้อหินเจียระไน ล้อหินเจียระไนอาจจะแตกกระเด็นโดยผู้ปฏิบัติงานได้
          5.6 เมื่อล้อหินเจียระไนทื่อหรือเกิดรอยบิ่น จะต้องทำการแต่งหน้าล้อหินเจียระไนใหม่ มิฉะนั้นผู้ปฏิบัติงานจะต้องออกแรงกดชิ้นงานที่นำมาลับมากเพราะหินทื่อ อาจจะทำให้พลาดไปโดนล้อหินเจียระไน ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้
          5.7 ห้ามใช้ผ้าจับเครื่องมือตัดหรือชิ้นงานที่นำมาเจียระไน เพราะผ้าอาจจะติดเข้าไปในล้อหินเจียระไนที่กำลังหมุน และทำให้มือติดเข้าไปด้วยทำให้เกิดอันตรายได้
          5.8 ในขณะเริ่มเปิดสวิตซ์เครื่องเจียระไนเพื่อปฏิบัติงานจะต้องระมัดระวังไม่ยืนตรงกับล้อหินเจียระไน เพราะในช่วงที่เริ่มเปิดเครื่องใหม่ ๆ ล้อหินเจียระไนจะมีแรงเหวี่ยงมาก ถ้าล้อหินเจียระไนเกิดรอยแตกร้าวอยู่ก่อนอาจกระเด็นออกมาถูกผู้ปฏิบัติงานทำให้เกิดอุบัติเหตุได้
          5.9 เครื่องเจียระไนทุกเครื่องจะต้องมีการติดตั้งสายดินเพื่อป้องกันไฟฟ้าดูดผู้ปฏิบัติงาน
การลับมีดกลึง
            ในการลับมีดกลึงเราต้องมีความตั้งใจในการทำงานเพราะว่าหากเราลับมีดกลึงผิดจากแบบ หรือไม่ได้มุมมีดที่ถูกต้อง จะทำให้ไม่สามารถที่จะทำการกลึงได้ เพราะมุมมีดไม่สามารถตัดเฉือนเหล็กได้ หรือทำให้อายุการใช้งานของคมตัดสั้นลง

                   1.มุมต่าง ๆ ของมีดกลึง มุมต่าง ๆ ที่สำคัญของมีดกลึง มีดังต่อไปนี้
                     2.ขั้นตอนการลับมีดกลึงหรือไสตกร่อง การลับมีดไสตกร่องบ่าฉากจะมีลักษณะการทำงานทเหมือนกันกับการลับมีดกลึงตกร่อง
การลับมีดไส การลับมีดไสจะมีวิธีลับที่คล้าย ๆ กัน กับการลับมีดกลึง ต่างกันที่ค่าของมุมที่ลับ และขนาดมีดไสโดยทั่ว ๆ ไป จะมีขนาดใหญ่กว่ามีดกลึง เพราะต้องการความแข็งแรงมากกว่า แต่ก็สามารถใช้ขนาดเท่ากันได้ มีดไสมีมุมต่าง ๆ ดังนี้
การบำรุงรักษาเครื่องเจียระไนลับคมตัด
เพื่อให้อายุการใช้งานของเครื่องเจียระไนลับคมตัดใช้ได้ยาวนานจึงมีวิธีการบำรุงรักษา ดังนี้
1) ก่อนใช้เครื่องเจียระไนทุกครั้ง ต้องตรวจดูความพร้อมของเครื่อง หลังใช้งานให้ทำความสะอาดทุกครั้ง
2) ถ้ากระแสไฟฟ้ามากกว่าปกติหรือไม่เต็มเฟสห้ามใช้เครื่องเจียระไนลับคมตัด เพราะมอเตอร์จะไหม้
                ความปลอดภัยในการใช้เครื่องเจียระไนลับมือ
อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงานขณะใช้เครื่องเจียระไนลับมือบ่อยๆคือผงเศษเหล็กหรือผงเศษหินกระเด็นเข้าตา นิ้วมือถูกล้อหินเจียระไนตัดขาด ล้อหินแตกกระเด็นมาถูกผู้ใช้ และไฟฟ้าดูดความปลอดภัยในการใช้เครื่องเจียระไนลับมือ ดังนี้
               1) ตรวจสภาพเครื่องเจียระไนก่อนใช้งาน
2) ห้ามใช้เครื่องเจียระไนลับมือ ในขณะที่สภาพร่างกายไม่พร้อม
3) การแต่งกายต้องรัดกุมขณะใช้เครื่องเจียระไนลับมือ
4) ต้องสวมแว่นตานิรภัย กันเศษเหล็กเข้าตา
5) การเจียรนัยชิ้นงาน ควรยืนอยู่ในท่าที่พร้อมปฏิบัติงาน
6) การลับชิ้นงาน กับล้อหินเจียระไนต้องจับชิ้นงานให้แน่น
7) การเจียระไนที่มีชิ้นงานขนาดเล็กให้จับชิ้นงานด้วยคีม
8) ขณะเจียระไนชิ้นงานควรจุ่มน้ำหล่อเย็นบ่อย ๆ เพื่อลดความร้อน
9) การเจียระไนลับคมตัด ชิ้นงาน ห้ามใส่ถุงมือ เนื่องจากจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายต่อนิ้วมือของผู้ใช้ ได้ง่าย
10) การเจียระไนลับคมตัด ห้ามใช้ผ้ารองรับชิ้นงาน
11) การลับคมตัดชิ้นงานห้ามใช้หินด้านข้างลับ เพราะอาจทำให้หินแตกได้
12) ไม่ควรก้มหน้า ใกล้กับล้อหินเจียระไนเกินไป
13) เพื่อความปลอดภัย ในการใช้งานเครื่องเจียระไนลับคมตัด ต้องพึงระมัดระวังอันตราย ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ อยู่เสมอ
''เรื่องพื้นฐานงานช่างที่หลายคนมักเข้ามาถามหา"
พื้นฐานจำเป็นที่นายช่างและวิศวกรต้องมีและต้องรู้..!!
1. ความรู้เรื่องวัสดุ
- โลหะ
ที่มีการนำมาใช้งานมาก ได้แก่ เหล็ก, สแตนเลส 
ตามมาตรฐาน JIS
เหล็กโครงสร้างทั่วไป เช่น เกรด SS400
งานสแตนเลส SUS304,SUS316
เหล็กทำชิ้นส่วนเครื่องจักรกล เช่น S45C, SCM440
เหล็กใช้ทำแม่พิมพ์โลหะ เช่น SKD11
- พลาสติก
* อะคลิลิค
* ไนล่อน
* ยูรีเทน
* PVC
2. ชิ้นส่วนเครื่องจักรกล
*ใช้ในการส่งผ่านกำลัง และการเคลื่อนที่ ได้แก่
- เพลา + ลิ่ม + Mech Lock
- เฟือง
- สายพาน + มูเลย์
- โซ่ + Sprocket
- Coupling
*ใช้ในการรองรับ การส่งผ่านกำลัง และการเคลื่อนที่
เช่น แบร์ริ่ง ซีล ประเก็น (ตลับลูกปืน)
*ใช้ในการจับยึด ได้แก่
- Bolt + Nut + Screw 
- สกรู,น๊อต,โบลท์,พลุ๊ก,สตัด,แหวนรอง 
- รีเวท
*ใช้ในการแขวน/ยึด
- พุก + สตัดโบลท์ 
- Hanger
3. การตัด / เชื่อมโลหะ
* การเชื่อม
- เชื่อมแก๊ส
- เชื่อมไฟฟ้า
- เชื่อม CO2
- เชื่อมอาร์กอน
- เชื่อมจุด (Spot Welding)
* การตัด
- ใช้เลื่อยมือ
- ใช้เลื่อยกล
- ใช้เครื่องจักร
- ตัดแก๊ส
- ตัดพลาสม่า
- ตัด Wire Cut
4. ระบบ Pneumatic 
ใช้ลมเป็นตัวกลางในการส่งกำลัง
5. ระบบ Hydraulic 
ใช้น้ำมันเป็นตัวกลางในการส่งกำลัง
6. ระบบงานท่อ ท่อที่นิยมใช้ ได้แก่
- ท่อชุปสังกะสี
- ท่อเหล็กดำ
- ท่อ PVC
- ท่อ PE
- ท่อสแตนเลส
- ท่อ PP-R
- ท่อ PB
- ท่อ ABS
และข้อต่อ,อุปกรณ์ฟิตติ้งต่างๆ
7. การทำความร้อน / ความเย็น (Heat Transfer & Refrigeration System)
8. ปั๊ม ระบบสูบน้ำ ระบบกรอง ระบบบ่อบำบัด
9. Conveyor สายพานลำเลียง Material handling
10. Jig & Fixture
11. อุปกรณ์, เครื่องมือช่าง
12. อุปกรณ์นิวเมติกส์ อุปกรณ์ไฮดรอลิก (Pneumatic and Hydraulic)
13. อุปกรณ์, เครื่องมือวัด สอบเทียบ
14. ระบบเครื่องยนต์ (Engine)
15. GD & T มาตรฐานสากลที่ใช้ในการบอกขนาดและความเที่ยงตรงของชิ้นงาน
หวังว่าความรู้เหล่านี้จะเป็นประโยชน์แก่ทุกๆคนที่สนใจนะครับ ^^