สัญลักษณ์เบื้องต้นในงานเขียนแบบเครื่องกล
ในงานเขียนแบบนอกเหนือจากการบอกขนาดต่าง ๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในบทที่4 ผู้เขียนแบบเองจำเป็นที่จะต้องระบุสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในงานเขียนแบบเพิ่มเติม โดยที่สัญลักษณ์ในงานเขียนแบบนี้ แบ่งออกได้เป็นหลายชนิดตามลักษณะการใช้งาน เช่น สัญลักษณ์ความหยาบของผิวงาน สัญลักษณ์งานเชื่อม สัญลักษณ์ชิ้นส่วนมาตรฐานของเครื่องจักรกล (สปริง เฟือง เกลียว ตลับลูกปืน ฯลฯ ) และสัญลักษณ์พื้นฐานทางไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ซึ่งการระบุสัญลักษณ์เหล่านี้เพิ่มเติมลงในแบบสั่งงานเพื่อให้ชัดเจนมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้ผู้นำแบไปใช้งานสามารถที่จะปฏิบัติงานไอย่างถูกต้องและเข้าใจเป็นแนวทางเดียวกัน อีกทั้งยังช่วยลดเวลาในงานเขียนแบบได้อีกด้วย สำหรับสัญลักษณ์เบื้องต้นในงานช่างอุตสาหกรรมที่จะกล่าวถึงในหน่วยนี้คือ สัญลักษณ์ของเกลียว สัญลักษณ์ความหยาบละเอียดผิวงาน สัญลักษณ์แนวเชื่อม รวมถึงพิกัดความเผื่อเบื้องต้นที่ใช้ในงานเขียนแบบ
1. เกลียว ( Thread)
เกลียวเป็นชิ้นงานส่วนที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากการหมุนให้เคลื่อนที่เป็นแนวเส้นตรงเพื่อยึดชิ้นงานหรือ ทำให้ชิ้นส่วนเคลื่อนที่ เกลียวมีรูปร่างเป็นร่องวนรอบ ตัวอย่างดังภาพที่ 9.1 เพื่อให้สะดวกในการเขียนแบบ จึงมีการกำหนดเป็นภาพสัญลักษณ์แทน ดังภาพที่แสดงต่อไปนี้
ภาพที่ 9.1 ส่วนต่างๆของเกลียว
1.1 การเขียนภาพสัญลักษณ์เกลียวในระบบ ISO
ภาพที่ 9.2 การเขียนสัญลักษณ์ของเกลียว
|
ภาพที่ 9.3 ส่วนประกอบในการเขียนภาพสัญลักษณ์เกลียว
|
1.2.1 สัญลักษณ์ปลายสลักเกลียวตาม DIN 78
1.2.2 เกลียวแสดงเป็นภาพตัด
ในกรณีที่มีที่เขียนภาพไม่เพียงพอหรือมีเวลาการเขียนจำกัด ก็สามารถเขียนแบบให้เกลียวนอกหรือเกลียวในเพียงครึ่งเดียวก็ได้ ดังภาพที่ 9.7 (ก) และ 9.7(ข)
1.2.3 เกลียวที่มองไม่เห็น
ตารางที่ 9.1 มาตรฐานของเกลียวชนิดต่าง ๆ
ชนิดของเกลียว
|
ตัวย่อ
|
การกำหนดขนาด
|
ตัวอย่าง
|
เกลียววิตเวิต-ละเอียด (เรียว)
|
W
|
เส้นผ่านศูนย์กลางนอกเป็น มม.´ระยะพิตช์ เป็นนิ้ว
|
W28,8.´1/4
Keg DIN 477
|
เกลียวท่อ-วิตเวิต (ทรงกระบอก)
|
R
|
ขนาดกำหนดของท่อเป็นนิ้ว(ขนาดกำหนด=Æ ใน)
|
R3/4
|
เกลียวเมตริก - ISO
|
M
|
เส้นผ่านศูนย์กลางนอกของเกลียวเป็น มม.
|
M60
|
เกลียวเมตริก-ISO ละเอียด
|
M
|
เส้นผ่านศูนย์กลางนอกของเกลียวเป็น มม. .´ระยะพิตช์ เป็น มม.
|
M80´2
|
เกลียวเมตริก-ISO ทรงคางหมู
|
Tr
|
เส้นผ่านศูนย์กลางนอกของเกลียวเป็น มม.´ระยะพิตช์ เป็น มม..
|
Tr48´8
|
เกลียวฟันกลม
|
Rd
|
เส้นผ่านศูนย์กลางนอกของเกลียวเป็น มม.´ระยะพิตช์ เป็น มม..
|
Rd40´5
|
เกลียวฟันเลื่อย
|
S
|
เส้นผ่านศูนย์กลางนอกของเกลียวเป็น มม.´ระยะพิตช์ เป็น มม..
|
S70´10
|
เกลียวไฟฟ้า (เกลียว-เอดิสัน)
|
E
|
เส้นผ่านศูนย์กลางนอกของเกลียว (Æ - นอก)เป็น มม.
|
E27
|
ตัวอย่าง
W28´ 1/4
|
W หมายถึง เกลียววิตเวิต
28 หมายถึง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางยอดเกลียว 28 มม.
¼ หมายถึง ระยะพิตช์เท่ากับ ¼ นิ้ว หรือใน 1 นิ้ว ในจำนวนเกลียว 4 ฟัน
M80´2
|
M หมายถึง เกลียวเมตริก
80 หมายถึง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางยอดเกลียว 80 มม.
2 หมายถึง ระยะพิตช์เท่ากับ 2 มม.
Tr 48´8
|
Tr หมายถึง เกลียวเมตริก(ทรงสี่เหลียมคามหมู)
48 หมายถึง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางยอดเกลียว 48 มม.
8 หมายถึง ระยะพิตช์เท่ากับ 8 มม.
2. สัญลักษณ์ความหยาบละเอียดของผิวงาน
ผิวชิ้นงานที่ผ่านการะบวนการผลิตด้วยกรรมวิธีต่าง ๆ เช่น งานหล่อ งานรีด งานกดอัดขึ้นรูป และ งานขึ้นรูปด้วยเครื่องมือกล ( งานกัด งานกลึง งานเจียระไน ฯลฯ ) เมื่อมองด้วยสายตาเราจะเห็นว่าผิวของชิ้นงานมีความเรียบ แต่เมื่อนำมาขยาย ก็จะพบว่าผิวงานเหล่านั้นขรุขระเป็นคลื่นสูง-ต่ำไม่เท่ากัน โดยเฉพาะถ้าผิวของชิ้นงานใดมีความสูง-ต่ำแตกต่างกันมาก แสดงว่าผิวของชิ้นงานนั้นมีความหยาบของผิวมาก แต่ถ้าผิวของชิ้นงานใดมีความสูง-ต่ำน้อย ก็แสดงว่ามีความหยาบของผิวน้อยและละเอียดมากกว่า ซึ่งความหยาบละเอียดของผิวงานนี้จะมีความจะเป็นสำหรับงานที่ต้องการความละเอียดสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิตชิ้นส่วนของเครื่องจักรกลบางชนิด เช่น ตลับลูกปืน เป็นต้น แต่สำหรับชิ้นงานบางชนิดอาจจะไม่มีความจำเป็นที่จะต้องระบุความหยาบละเอียดของผิวงาน เพราะจะทำให้เสียเวลาในการผลิต
ภาพที่ 9.16 ภาพขยายของผิวชิ้นงานที่ผ่านกระบวนการขึ้นรูป
2.1 การวัดค่าความหยาบละเอียดของผิวงานตามมาตรฐานของ ISO 4287
การวัดค่าความหยาบละเอียดของผิวงานที่ผ่านกระบวนการขึ้นรูปมาแล้ว ในหน่วยนี้จะ กล่าวถึงเฉพาะค่าความหยาบ Rt, Ra และ Rz เท่านั้น
2.1.1 ค่าความหยาบ Rt คือค่าวัดจากจุดสูงสุดไปยังจุดต่ำสุดของผิวงาน ซึ่งมีหน่วยเป็นไมโครเมตร (um)
ภาพที่ 9.19 การวัดค่าความหยาบ Rt
2.1.2 ค่าความหยาบ Ra หมายถึง ค่าความหยาบผิวที่หาได้จากการรวมพื้นที่ยอดแหลมของคลื่นเหนือเส้นกึ่งกลาง (M-Line) กับพื้นที่ยอดแหลมของคลื่นใต้เส้นกึ่งกลาง หารด้วยความยาวเฉลี่ย (Lm) โดยที่ค่าของ Ra มีหน่วยวัดเป็นไมโครเมตร
ภาพที่ 9.20 การวัดค่าความหยาบ Ra
2.1.3 ค่าความหยาบ Rz หมายถึง ค่าความหยาบผิว ซึ่งหาได้จากการวัดทดสอบเป็นช่วงเท่า ๆ กัน 5 ช่วง แล้วนำค่าที่ได้มารวมกันหารด้วย 5 โดยที่ค่าของRz มีหน่วยเป็นไมโครเมตร
Rmax
|
ภาพที่ 9.21 การวัดค่าความหยาบ Rz
2.1.4 ค่าความหยาบผิวสูงสุด R max หมายถึง ความลึกสูงสุดของร่องความหยาบที่มีอยู่ในระยะทดสอบ (ดังรูป 9.4)
2.2.1 แผ่นเทียบผิว มีลักษณะเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมวางเรียงกันเป็นชุดตามลำดับความหยาบและแต่ละแผ่นจะมีสัญบักษณ์บอกระดับความหยาบไว้ เวลา ใช้งานต้องนำแผ่นเทียบผิวไปเปรียบเทียบกับผิวชิ้นงานค่าความหยาบของผิวงานก็ สามารถอ่านจากแผ่นเทียบผิวที่มีผิวตรงกับผิวของชิ้นงาน ( ดูภาพที่ 9.20)
ภาพที่ 9.21 เครื่องวัดความหยาบผิวแบบแสดงผลที่หน้าปัด
|
2.2.2 เครื่องวัดความหยาบผิว เป็นเครื่องมือวัดความหยาบผิวที่ทำงานด้วยระบบไฟฟ้า ซึ่งสามารถวัดค่าความหยาบผิวเป็นตัวเลขหรือแสดงเป็นกราฟก็ได้โดยสามารถบอกค่าความหยาบเป็น Ra , Rz , Rmax ได้ด้วย (ดูภาพที่9.21 และ 9.22)
ภาพที่ 9.22 เครื่องวัดความหยาบผิวแบบพิมพ์ข้อมูลและกราฟความหยาบผิว
|
ตารางเปรียบเทียบค่าความหยาบตามมาตรฐาน DIN กับ ISO
|
ภาพที่ 9.33 แสดงการเปรียบเทียบความหยาบผิวระหว่างมาตรฐาน DIN กับ ISO
|
ตารางที่ 9.3 ผิวความหยาบ Rz
ตารางที่ 9.3 ผิวความหยาบ Ra
2.3 การกำหนดสัญลักษณ์ผิวตามมาตรฐาน ISO 1302
จากการปรับปรุงมาตรฐานในงานเขียนแบบเป็นมาตรฐาน ISO โดยแต่เดิมใช้มาตรฐาน
DIN 140 นั้น ต่อมาเมื่อเดือนมิถุนายน 1977 ได้มีการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานสัญลักษณ์ผิวงานขึ้นใหม่เป็นมาตรฐาน ISO 1302 โดยได้กำหนดค่าความหยาบของผิวงาน ( Ra หรือRz ) ลงในแบบงานด้วยดังราย ละเอียดต่อไปนี้
1.สัญลักษณ์ที่ใช้แสดงค่าความหยาบผิว สัญลักษณ์พื้นฐานมาประกอบด้วยเส้นสองเส้นที่ยาวไม่เท่ากันทำมุมประมาณ 60° เส้นผิวงานสัญลักษณ์พื้นฐานที่ใช้มี 3 แบบด้วยกัน ดังตารางที่ 9.5
ตารางที่ 9.5 สัดส่วนของสัญลักษณ์ อักษร
ตารางที่ 9.6 สัญลักษณ์ และความหมายคุณภาพของผิวในแต่และสัญลักษณะในมาตรฐาน ISO
ตารางที่ 9.7 ตำแหน่งบอกรายละเอียด
ตัวอย่างสัญลักษณ์ของพื้นผิว
หมายถึง ผิวงานที่มีความหยาบ Ra = 0.2mm ได้จากการไส
หมายถึง ผิวงานที่ต้องการปรับผิวให้ได้ความหยาบ Ra = 6.3mm โดยไม่มีการปาดเนื้อหรือลดขนาดอีก
หมายถึง ผิวงานต้องมีความหยาบ Raต่ำสุด 1.6 mm แต่ไม่เกิน 6.3mm
หมายถึง ผิวงานต้องมีความหยาบ Rz ต่ำสุด 63mm แต่ไม่เกิน 100mmไม่ระบุกรรมวิธีการผลิต
หมายถึง ผิวงานที่มีการปรับผิวให้ได้ความยาว 18 มม. โดยมีค่าความหยาบ Rz 16 mm
ภาพที่ 9.34 ตัวอย่างสัญลักษณ์ของผิว
|
หมายถึง ผิวงานที่ต้องตัดเฉือนด้วยเครื่องมือ
มีค่าความหยาบ Ra = 6.3 mm
มีความยาวที่จะตัดเฉือน 20 มม. (ความยาวใช้งาน 15 มม. โดยเผื่อไว้ 5มม.)
ภาพที่ 9.35 การกำหนดค่าความหยาบของผิวในชิ้นงาน
|
ตารางที่ 9.8 สัญลักษณ์แสดงทิศทางการตัดเฉือนผิวงาน
3. สัญลักษณ์แนวเชื่อม
การกำหนดสัญลักษณ์งานเชื่อม (Weld Symbols) มาตรฐาน ISO 2553: 1992 (E) มีรายละเอียดดังนี้คือ
3.1. สัญลักษณ์เบื้องต้น เป็นแบบของการเชื่อมชนิดต่าง ๆ ที่แสดงด้วยสัญลักษณ์ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะมีรูปร่างคล้ายกับพื้นที่หน้าตัดของแนวเชื่อมดังที่แสดงไว้ในตารางที่ 9.9
ตารางที่ 9.9แสดงสัญลักษณ์เบื้องต้นตามแบบมาตรฐานของ ISO 2553: 1992 (E)
ลำดับ
|
แนวเชื่อม
|
ภาพแสดง
|
สัญลักษณ์
|
1.
|
แนวเชื่อมต่อชนระหว่างแผ่นที่พับขอบ (ขอบที่พับจะหลอมละลายทั้งหมด)
| ||
2.
|
แนวเชื่อมต่อชนหน้าฉาก( Square butt weld)
| ||
3.
|
แนวเชื่อมต่อชนบากร่องตัววีด้านเดียว
(Single – bevel butt weld)
| ||
4.
|
แนวเชื่อมต่อชนบากร่องเอียงด้านเดียว
(Single – bevel butt weld)
| ||
5.
|
แนวเชื่อมต่อชนบากร่องวีด้านเดียวโดยมีหน้าประชิดกว้าง(Single – V-bevel butt weld with broad root face)
| ||
6.
|
แนวเชื่อมต่อชนบากร่องเอียงด้านเดียวโดยมีหน้าประชิดกว้าง(Single – bevel butt weld with broad root face)
| ||
7.
|
แนวเชื่อมต่อชนบากร่องตัวยูด้านเดียว(หน้าขนานหรือหน้าลาดเอียง)
(Single –U- butt weld parallel or stopping sides)
|
(ต่อ) ตารางที่ 9.9แสดงสัญลักษณ์เบื้องต้นตามแบบมาตรฐานของ ISO 2553: 1992 (E)
ลำดับ
|
แนวเชื่อม
|
ภาพแสดง
|
สัญลักษณ์
|
8.
|
แนวเชื่อมต่อชนบากร่องตัวเจด้านเดียว
(Single – J butt weld)
| ||
9.
|
แนวเชื่อมปิดหลัง (Backing run, back or backing weld)
| ||
10.
|
แนวเชื่อมต่อฉาก(Fillet weld)
| ||
11.
|
แนวเชื่อมปลั๊กและสล็อด(Plug or slot weld)
| ||
12.
|
แนวเชื่อมจุด(Spot weld)
| ||
13.
|
แนวเชื่อมตะเข็บ(Seam weld)
| ||
14.
|
แนวเชื่อมต่อหลังชนบากร่องวีด้านเดียว โดยใช้แผ่นรองหลัง(Steep-flanked single – V butt weld)
| ||
15.
|
แนวเชื่อมต่อหลังชนบากร่องเอียงด้านเดียว โดยใช้แผ่นรองหลัง(Steep-flanked single – bevel weld)
| ||
16.
|
แนวเชื่อมขอบ(Edge weld)
|
(ต่อ) ตารางที่ 9.9แสดงสัญลักษณ์เบื้องต้นตามแบบมาตรฐานของ ISO 2553: 1992 (E)
ลำดับ
|
แนวเชื่อม
|
ภาพแสดง
|
สัญลักษณ์
|
17.
|
แนวเชื่อมพอกผิว (Surfacing)
| ||
18.
|
แนวเชื่อมต่อสัมผัสผิวหน้า(Surface joint)
| ||
19.
|
แนวเชื่อมแบบขอบเอียง(Inclined joint)
| ||
20.
|
แนวเชื่อมตะเข็บเกี่ยว(Fold joint)
|
3.2 การวางตำแหน่งของสัญลักษณ์แนวเชื่อมมีหลักเกณฑ์ในการกำหนดดังนี้
สัญลักษณ์งานเชื่อมจะประกอบไปด้วยเส้นลูกศร และเส้นอ้างอิงจำนวน 2 เส้น ซึ่งจะใช้ร่วมกับสัญลักษณ์ของแนวเชื่อมดังแสดงในภาพ ที่ 9.36
ภาพที่ 9.36 การใช้เส้นอ้างอิงร่วมกับสัญลักษณ์ของแนวเชื่อม
เมื่อรอยเชื่อมอยู่ด้านหัวลูกศรชี้ให้เขียนสัญลักษณ์ของแนวเชื่อมไว้ที่บนเส้นอ้างอิง และเมื่อรอยเชื่อมอยู่ด้านตรงกันข้ามหัวลูกศรชี้ให้เขียนสัญลักษณ์ไว้ที่ด้านล่างเส้นอ้างอิงดังภาพที่9.37 และ 9.38
ภาพที่ 9.37 การเขียนสัญลักษณ์แนวเชื่อมไว้บนเส้นอ้างอิงสำหรับการเชื่อมฉากแนวเดียว
ภาพที่ 9.37 การเขียนสัญลักษณ์แนวเชื่อมไว้บนเส้นอ้างอิงสำหรับการเชื่อมฉากสองเดียว
3.3 การบอกขนาดของแนวเชื่อม
การกำหนดขนาดหลักในสัญลักษณ์งานเชื่อมประกอบด้วย
3.3.1 ถ้าไม่ระบุสิ่งใดไว้ที่ด้านขวาของสัญลักษณ์หมายความว่า แนวเชื่อมนั้นเป็นแนวเชื่อมต่อเนื่องไปตลอดความยาวของชิ้นงาน
3.3.2 ถ้าไม่ระบุเป็นอย่างอื่น การเชื่อมต่อชนนั้นจะต้องเชื่อมให้ซึมลึก
3.3.3 สำหรับการเชื่อมต่อฉาก โดยปกติจะมีการระบุขนาดของแนวเชื่อม 2 วิธี คือ การระบุความสูงของสามเหลี่ยมหน้าจั่วที่ใหญ่ที่สุดที่สามารถบรรจุในภาคตัดขวางของรอยเชื่อม ซึ่งประกอบไปด้วยความสูง a และความยาว z ให้เขียนไว้ที่ด้านซ้ายของสัญลักษณ์แนวเชื่อมนั้น ๆ ดังตัวอย่างในภาพที่ 9.39
ภาพที่ 9.39 การขนาดของแนวเชื่อมต่อฉากร่วมกับสัญลักษณ์
3.3.4 สัญลักษณ์ของงานเชื่อมรอบ ให้เขียนวงกลมระบุไว้ที่จุดสัมผัสของเส้นลูกศรกับเส้นอ้างอิง
ภาพที่ 9.40 การระบุสัญลักษณ์แนวเชื่อมรอบชิ้นงาน
3.3.5 การเขียนสัญลักษณ์การเชื่อมหน้างาน หรืองานสนามให้เขียนสัญลักษณ์รูปธงระบุไว้ที่จุดสัมผัสของเส้นลูกศรกับเส้นอ้างอิง
ภาพที่ 9.41 การระบุสัญลักษณ์การเชื่อมหน้างาน
3.3.6 การระบุกระบวนการเชื่อม ให้แสดงด้วยตัวเลขไว้ที่ส่วนหางของสัญลักษณ์ สำหรับตัวเลขที่แสดงกระบวนการเชื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานของ ISO 4063
3.3.7 การบอกจำนวนแนวเชื่อม (n) ความยาวของแนวเชื่อม (L) ระยะห่างเว้นช่วงของแนวเชื่อม (e) และการระบุสัญลักษณ์งานเชื่อมและรายละเอียดอื่น ๆ ตามมาตรฐาน ISO ให้ระบุไว้ที่ตำแหน่งต่าง ๆ ของสัญลักษณ์ดังแสดงในภาพที่ 9.42
ภาพที่ 9.42 ตัวอย่างการระบุตำแหน่งสัญลักษณ์งานเชื่อมรวม
ในการผลิตชิ้นส่วนต่าง ๆของชิ้นงานอาจเกิดข้อผิดพลาดในกระบวนการต่าง ๆได้ ไม่ว่าจะเกิดจากผู้ปฏิบัติงาน เครื่องจักร กระบวนการผลิต เป็นต้น แต่ค่าผิดพลาดที่เกิดขึ้นกับชิ้นงานอาจมีค่ามากหรือน้อย ซึ่งจะมากหรือน้อย ซึ่งจะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ดังนั้น เพื่อเป็นการง่ายต่อการกำหนดค่าความผิดพลาดที่ยอมให้เกิดขึ้นได้ในการผลิตชิ้นงานเพื่อให้สามารถนำมาใช้งานได้ ซึ่งเราจะเรียกค่าผิดพลาดที่สามารถยอมรับได้หรือค่าผิดพลาดที่ยอมให้เกิดขึ้นได้ว่า “ ค่าพิกัดความเผื่อ (Tolerances)”
4.1 ค่าต่าง ๆของพิกัดความเผื่อ
ความหมายต่าง ๆ
N หมายถึง ขนาดที่กำหนด
Ut หมายถึง พิกัดความเผื่อบน
Lt หมายถึง ค่าพิกัดความเผื่อล่าง
Max. หมายถึง ขนาดโตสุดของงานที่ยอมให้ใช้
Min. หมายถึง ขนาดเล็กสุดของงานที่ยอมให้ใช้
T หมายถึง ขนาดความเผื่อทั้งหมดที่ยอมให้ใช้ในงานนี้
ภาพที่ 9.43 แสดงค่าต่าง ๆของพิกัดความเผื่อ
+0.05
|
ตัวอย่าง ให้ความหมายของพิกัดความเผื่อขนาด 50
-0.03
ความหมาย
1. ขนาดที่กำหนด (N) = 50 มม.
2. ค่าความพิกัดความเผื่อบน(Ut) = +0.05 มม.
3. ค่าพิกัดความเผื่อล่าง(Lt) = -0.03 มม.
4. ขนาดโตสุดที่ยอมให้ใช้งานได้(Max.) = 50+0.05 =50.05 มม.
5. ขนาดเล็กสุดที่ยอมให้ใช้งานได้(Min.) = 50-0.03 =49.97 มม.
6.พิกัดความเผื่อที่ยอมให้ผิดพลาดได้(T) = 0.05+0.03 =0.08 มม.
4.2 การเขียนสัญลักษณ์กำหนดค่าพิกัดความเผื่อ
ภาพที่ 9.44(ก)
|
-การกำหนดขนาดพิกัดความเผื่อจะเขียนไว้ด้านหลังของตัวเลขกำหนดขนาด โดยจะเขียนตัวเล็กกว่าตัวเลขกำหนดขนาด ค่าพิกัดความเผื่อบนจะเขียนมีเครื่องหมาย (+) นำหน้า เขียนอยู่ตำแหน่งเหนือตัวเลขกำหนดขนาด ส่วนค่าพิกัดความเผื่อล่างจะเขียนเครื่องหมาย (-) นำหน้า เขียนตำแหน่งด้านล่างของตัวเลขกำหนดขนาดดังภาพที่ 9.44(ก)
ภาพที่ 9.44(ข)
|
-ค่าพิกัดความเผื่อที่มีค่าเท่ากันให้เขียนตัวเดียวและใส่เครื่องหมาย(±)นำหน้าตัวเลขพิกัดความเผื่อดังภาพที่9.44(ข)
-ในกรณีที่รูคว้านและเพลาประกอบร่วมกันอยู่ให้เขียนคำว่า “เพลา” และ “รูคว้าน” และใส่สัญลักษณ์ ( ) นำหน้าตัวเลขกำหนดขนาด
ภาพที่ 9.45 การเขียนสัญลักษณ์พิกัดความเผื่อกรณีเพลาและรูคว้านประกอบกัน
-การเขียนสัญลักษณ์กำหนดค่าพิกัดความเผื่อตามมาตรฐาน ISO และ DIN ให้กำหนดตามภาพประกอบที่ 9.46
ภาพที่ 9.46 แสดงตัวอย่างการกำหนดพิกัดความเผื่อตามมาตรฐาน ISO และ DIN
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น