ลักษณะแรก การตัดขึ้นหรือ Up-millingคือการตัดโดยทิศทางของการเคลื่อนที่ของชิ้นงานสวนทางกับการหมุนของเครื่องมือตัด คมตัดจะเข้าตัดงานด้วยความลึกตัดที่บางและออกจากงานด้วยความลึกตัดที่หนาซึ่งลักษณะของเศษที่ออกมาก็จะมีรูปแบบบางไปหนา (Thin-to-Thick Chip Thickness) ด้วยเหตุผลนี้Up-millingส่งผลให้เกิดการสึกหรอที่คมตัดได้เร็ว การเข้าบางออกหนานั้นเป็นปัญหาอย่างมากต่อคมตัดโดยเฉพาะในส่วนของการเข้าบาง เราต้องทำความเข้าใจกับการตัดเฉือนกับความหนาในการตัดก่อนครับ ให้เรานึกถึงมีดทำครัว หากเราต้องการใช้มีดเฉือนเนื้อสัตว์การเฉือนนั้นก็ไม่ยากเท่าไร แต่ถ้าเราต้องเฉือนเนื้อสไลซ์บางๆเราก็จะพบอุปสรรคในการเฉือนแล้วหลายๆคนก็คงพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าต้องใช้มีดที่คมขึ้น นั่นก็เป็นเพราะว่าหลักการตัดเฉือนนั้นความหนาในการตัดต้องมากกว่าขนาดรัศมีของคมตัด ไม่ว่ามีดจะคมขนาดไหนก็มีส่วนรัศมีที่คมตัดครับไม่ว่าจะแค่รัศมี10ไมครอนก็ตาม ผมจะมาลงรายละเอียดในเรื่องการตัดเฉือนให้มากขึ้นในอนาคตครับ สรุปว่าการเข้างานโดยการเข้าบางนั้น (เริ่มจาก 0)คมตัดนั้นไม่สามารถตัดงานได้จึงเป็นการถูงานแทน ทำให้เกิดความร้อนสูงบริเวณคมตัดและส่งผลให้สึกเร็วขึ้น
การตัดขึ้นไม่ใช่มีแต่ข้อเสียครับ ข้อดีที่สำคัญของการตัดขึ้นนั้นก็คือการเบี่ยงตัวของทูลขณะตัดงาน ในการตัดงานนั้นทูลสามารถเบี่ยงตัวออกจากชิ้นงานได้โดยเฉพาะการตัดที่ใช้แรงมากหรือทูลที่จับไม่มั่นคง ในการตัดขึ้นนั้นทูลจะเบี่ยงตัวออกในทิศทางขนานกับทิศทางการตัด เราสามารถใช้สิ่งนี้ให้เป็นประโยชน์ได้อย่างดี ตัวอย่างเช่น หากเราตัดงานแล้วทูลเบี่ยงออกเนื่องจากตัดหนักหรือทูลยาวเราสามารถเก็บค่าด้วยการป้อนค่าน้อยๆหรือไม่ป้อนเลย (Spring pass)ด้วยการตัดขึ้น การที่ทูลเบี่ยงในทิศทางเดียวกับที่ตัดจะทำให้ทูลตัดได้อย่างสม่ำเสมอไม่หนีออกจากงาน ประโยชน์อีกอย่างคือการใช้การตัดขึ้นตัดงานลอกผิวที่แข็งเช่นงานเหล็กหล่อหรือเหล็กรีดร้อน ผิวงานที่แข็งของวัสดุพวกนี้มักทำให้ทูลนั้นเบี่ยงหนี เพราะฉะนั้นในการตัดขึ้นจะทำให้ทูลนั้นตัดงานประเภทนี้ได้ทนมากกว่า
การตัดลง หรือ Down-millingนั้นก็มีลักษณะที่ตรงกันข้ามกับการตัดขึ้น การเข้างานเป็นแบบเข้าหนาออกบางซึ่งเป็นผลดีกับคมตัดเพราะไม่มีการถูกับงานเหมือนการตัดขึ้นจึงทำให้ผิวงานมักสวยกว่า การตัดลงเป็นวิธีที่มักใช้กันโดยเฉพาะกับเครื่องCNC แต่บนเครื่องรุ่นเก่าหรือเครื่องขนาดเล็กส่วนมากจะไม่ใช้การตัดลงเพราะว่าสกรูขับแกน(Lead screw)ของเครื่องนั้นมักจะหลวมหรือที่เรียกกันว่า Backlash ในการตัดลงหากเครื่องมีBacklashจะทำให้ชิ้นงานถูกดึงเข้าหาทูลขณะตัดส่งผลให้งานเป็นรอยลึกหรืออาจจะทำให้งานหลุดออกได้เลย เราต้องระวังให้ดีถ้าจะเลือกใช้การตัดลงบนเครื่องรุ่นเก่าหรือเครื่องมิลลิ่งขนาดเล็ก ไม่ควรตัดหนักเกินไปอาจเป็นอันตรายกับผู้ปฏิบัติงานได้ครับ ข้อเสียอีกอย่างในการตัดลงคือการเบี่ยงตัวในทิศทางฉากกับทิศทางการตัด
ที่มา: http://thaimachinist.com
การตัดลง หรือ Down-millingนั้นก็มีลักษณะที่ตรงกันข้ามกับการตัดขึ้น การเข้างานเป็นแบบเข้าหนาออกบางซึ่งเป็นผลดีกับคมตัดเพราะไม่มีการถูกับงานเหมือนการตัดขึ้นจึงทำให้ผิวงานมักสวยกว่า การตัดลงเป็นวิธีที่มักใช้กันโดยเฉพาะกับเครื่องCNC แต่บนเครื่องรุ่นเก่าหรือเครื่องขนาดเล็กส่วนมากจะไม่ใช้การตัดลงเพราะว่าสกรูขับแกน(Lead screw)ของเครื่องนั้นมักจะหลวมหรือที่เรียกกันว่า Backlash ในการตัดลงหากเครื่องมีBacklashจะทำให้ชิ้นงานถูกดึงเข้าหาทูลขณะตัดส่งผลให้งานเป็นรอยลึกหรืออาจจะทำให้งานหลุดออกได้เลย เราต้องระวังให้ดีถ้าจะเลือกใช้การตัดลงบนเครื่องรุ่นเก่าหรือเครื่องมิลลิ่งขนาดเล็ก ไม่ควรตัดหนักเกินไปอาจเป็นอันตรายกับผู้ปฏิบัติงานได้ครับ ข้อเสียอีกอย่างในการตัดลงคือการเบี่ยงตัวในทิศทางฉากกับทิศทางการตัด
ที่มา: http://thaimachinist.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น