วันเสาร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

SUPER DRILL EDM PROMPT


SUPER DRILL EDM PROMPT




ออก แบบมาเพื่อเจาะงานที่แข็งแรงไม่ว่าจะเป็นเหล็กชุบแข็ง, คาร์ไบท์  โครงสร้างอกแบบให้เหมาะกับการใช้งานและมีความมั่นคงต่อฐานเครื่องได้  การตรวจเช็คมาตรฐานการตรวจสอบจากเยอรมัน  Working table  ทำจากสแตนเลสทำให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน  เครื่อง SUPER DRILL EDM PROMPT  สามารถเจาะชิ้นงานได้ขนาด 0.2 mm.  ถึง 3.0mm.  มีระบบทำงานแบบอัตโนมัติประหยัดพลังงาน  ทำงานไว้  เที่ยงตรงและประหยัดพลังงาน
ความรู้ทั่วไปและการเลือกใช้และการใช้งานดอกสว่าน
เคยไหมที่เลือกใช้งานดอกสว่านไม่ถูกต้องตามชิ้นงาน ส่งผลให้อายุการใช้งานของดอกสว่านของท่าน ต่ำลง วันนี้ ขอนำเสนอความรู้พื้นฐานของการเลือกดอกสว่านแต่ละชนิด สำหรับผู้ที่เริ่มต้นใช้งานดอกสว่าน หรือผู้ที่ใช้งานอยู่แล้วแต่ยังไม่ทราบที่มาที่ไปของดอกสว่าน แต่ละชนิดว่า ชื่อเรียกแต่ละชื่อเป็นมากันอย่างไร
การใช้งานดอกสว่าน
หากแบ่งตาม ประเภทของการใช้งาน เราแบ่งดอกสว่านออกเป็น 3 ประเภท คือ ดอกสว่านสำหรับเจาะคอนกรีต ดอกสว่านสำหรับเจาะโลหะ ดอกสว่านสำหรับเจาะไม้
ดอกสว่านสำหรับเจาะไม้ส่วนปลาย แหลมมีหัวเกสรช่วยในการนำศูนย์ ลดการแกว่ง ใช้เหล็กคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Steel) ทื่อเร็ว มีราคาถูก
ดอกสว่านสำหรับเจาะคอนกรีต ลักษณะดอกเป็นเกลียวบิด ส่วนปลายดอกเป็นเหล็กแข็ง ปลายบานเพื่อรับแรงกระแทก
ดอก สว่านสำหรับเจาะโลหะ ลักษณะดอกเป็นเกลียวตัดตลอดดอก ปลายดอกแหลมสำหรับจิกชิ้นงาน - ดอกสว่านแบบ HS High Speed ใช้สำหรับเจาะวัตถุเช่น ไม้ พลาสติก
- ดอกสว่านแบบ High Speed Steel HSS ใช้สำหรับเจาะเหล็กชนิดต่าง ๆ เช่น เหล็กแผ่น เหล็กอ่อน เหล็กเหนียว เหล็กหล่อ มีความแข็งสูงมาก - ดอกสว่านแบบ Tungsten Carbide ใช้สำหรับเจาะโลหะเนื้อแข็ง เช่น อัลลอย สแตนเลส สตีล
ความรู้เบื้องต้น ของการเลือกดอกสว่าน
ส่วนประกอบของดอกสว่านแบ่งออกเป็น 4 ส่วนหลัก
ลำตัวดอกสว่าน (Body)ลักษณะเป็นเกลียวขวา มีร่องคายเศษและสันคมตัด (Flute สันคมตัด ทำหน้าที่ขูดผิวงานให้เรียบ
วัสดุที่ใช้ในการผลิตดอกสว่าน วัสดุประเภทเหล็ก(Steel)
เหล็กคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Steel)
มี ราคาถูก แต่คงความคมไว้ได้ไม่นาน จึงต้องลับคมอยู่บ่อยๆ ดอกสว่านที่ทำจากเหล็กชนิดนี้จะใช้เจาะไม้เท่านั้น แต่ถึงแม้จะเป็นไม้เหมือนกัน แต่การเจาะไม้เนื้อแข็งก็ทำให้ดอกสว่านทื่อได้เร็วกว่าเจาะไม้เนื้ออ่อน อย่างเห็นได้ชัด
เหล็กคาร์บอนสูง(High Carbon Steel)
ทนกว่า เหล็กคาร์บอนต่ำ เหล็กชนิดนี้ เมื่อใช้งานจนเกิดความร้อนแล้ว ส่วนคมของดอกสว่านจะอ่อนตัวทำให้ตัดได้แย่ลง ดอกสว่านแบบนี้สามารถเจาะได้ทั้งไม้และเหล็ก
เหล็กไฮสปีด (High Speed Steel) (HSS)
เป็น เหล็กที่ในปัจจุบันได้เข้ามาแทนที่เหล็กคาร์บอนเป็นเหล็กที่จัดอยู่ในกลุ่ม เหล็ก สำหรับทำเครื่องมือ (Tool Steel) มีความทนทานมากกว่าเหล็กคาร์บอนมาก สามารถทนต่อความร้อน ขณะใช้งานได้ดีโดยไม่ศูนย์เสียความแข็ง คุณสมบัติข้อนี้ทำให้ เหล็ก HSS สามารถเจาะผ่านวัสดุ ได้เร็วกว่าเหล็กคาร์บอน จึงเป็นที่มาของชื่อ High Speed Steel นั่นเอง ตัวอย่าง
ดอก สว่าน HSS ก้านหกเหลี่ยม สำหรับการเจาะเหล็ก สามารถใช้ร่วมกับ Impact Driver ทุกรุ่นทุกยี่ห้อ
เหล็กอัลลอยโคบอล
มีปริมาณโคบอลสูง กว่าเหล็กไฮสปีด มีคุณสมบัติที่สามารถคงความแข็งแกร่งได้ในอุณหภูมิที่สูงกว่ามาก ดอกสว่านที่ทำจากโคบอลอัลลอยจึงสามารถใชเจาะวัสดุแข็งๆ เช่นแสตนเลสสตีลได้ ข้อเสียหลักของเหล็กชนิดนี้คือมีความเปราะมากกว่าเหล็กไฮสปีดทั่วไป
ดอกสว่าน ไฮสปีด โคบอล ก้านตรง เหมาะสำหรับการเจาะเหล็กอัลลอยด์ เหล็กแม่พิมพ์ และ แสตนเลส
หวังว่าความรู้พื้นฐานนี้จะช่วยทุกท่านในการเลือกซื้อดอกสว่านให้ถูกต้องตามงาน ที่ใช้นะครับ



สนใจปรึกษาและสอบถามได้ที่ เอกชัย ไอไอที กรุ๊ป 084-7711559 หรือ www.iitgroup.in.th
เราพร้อมให้บริการ คำแนะนำ ปรึกษา เกียวกับ เครื่องพันช์ เครื่องปั้ม Turret Punch Press Murata 



สนใจปรึกษาและสอบถามได้ที่ เอกชัย ไอไอที กรุ๊ป 084-7711559 หรือ www.iitgroup.in.th

เก็บตกบรรยากาศ Boot IITGROUP ในงาน Intermach 2015 @ ไบเทค บางนา 13-16 พ.ค.58

เก็บตกบรรยากาศ Boot IITGROUP ในงาน Intermach 2015 @ ไบเทค บางนา 13-16 พ.ค.58

ขอขอบคณลูกค้าทุกท่านที่มาเยื่ยม ชมบูธ ไอไอที กรุ๊ป ของเรา เราคัดสรรคเครื่องจักรที่ดี มีคุณภาพ สมเหตุสมผลกับราคามาให้ท่านเลือก ทั้ง TURRET PUNCH PRESS<เครื่องพันช์> และ  PRESS BRAKE<เครื่องพับ> MURATA จากประเทศญี่ปุ่น



สนใจปรึกษาและสอบถามได้ที่ เอกชัย ไอไอที กรุ๊ป 084-7711559 หรือ www.iitgroup.in.th
เราพร้อมให้บริการ คำแนะนำ ปรึกษา เกียวกับ เครื่องพันช์ เครื่องปั้ม Turret Punch Press Murata 



สนใจปรึกษาและสอบถามได้ที่ เอกชัย ไอไอที กรุ๊ป 084-7711559 หรือ www.iitgroup.in.th

วันเสาร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ลักษณะของชิ้นงานปั๊มให้ได้คุณภาพ (Characteristics of Stamped Parts)

 ลักษณะของชิ้นงานปั๊ม  (Characteristics  of  Stamped  Parts)




              ชิ้นงานที่เกิดจากกระบวนการปั๊มจะมีความหนาของชิ้นงานคงที่สม่ำเสมอ  (ยกเว้นบางกรณี)  รูปร่างชิ้นงานมีได้แต่รูปร่างง่ายๆ  ไปจนถึงรูปร่างที่ซับซ้อน  ความหนาของชิ้นงานปั๊มอยุ่ในช่วงระหว่าง  0.025  มิลลิเมตร  ถึง  20  มิลลิเมตร  แต่โดยส่วนใหญ่มักอยู่ระหว่าง  1.3  มิลลิเมตร  ถึง  9.5  มิลลิเมตร  ขนาดของชิ้นงานปั๊มสามารถมีขนาดเล็กเท่าชิ้นส่วนนาฬิกาข้อมือไปจนถึงตัวถัง รถบรรทุกหรือเครื่องบิน  ลักษณะของชิ้นงานที่ผ่านกระบวนการปั๊มจะมีลักษณะที่เกิดขึ้นได้ดังนี้
             1.  ขอบหนาม  (burr-side)  และรัศมีการตัด  (cut  radius)  การตัดแผ่นโลหะด้วยวิธี  blanking  หรือ  piercing  จะเกิดลักษณะที่ขอบรอยตัดของแผ่นโลหะ  ด้านหนึ่งขรุขระไม่เรียบเหมือนหนาม  เรียกลักษณะนี้ว่า  burr-side  ส่วนขอบรอยตัดด้านตรงข้ามจะเกิดรัศมีการตัด  หรือที่เรียกว่า  rollover  การแก้ไขสามารถทำได้โดยกรรมวิธี  deburring
ภาพ Burr  และ  Rollover  ที่เกิดขึ้นในงานเจาะรู [3] 
              2.  Concentricity  เป็นการเยื้องกันเล็กน้อยของจุดศูนย์กลางของเส้นรอบรูปวงในและวงนอกซึ่งจะ เกิดขึ้นในทุกกระบวนการปั๊มยกเว้นการใช้  compound  die  ชิ้นงานจะยอมรับได้ถ้าค่าความคลาดเคลื่อนไม่เกินค่าที่ระบุไว้
              3.  Flatness/Blanking  Distortion  เป็นการโก่งงอของชิ้นงานเล็กน้อยเนื่องจากความเค้นทีชอบของชิ้นงานจากแรงกด  ปริมาณการโก่งงอจะเพิ่มขึ้นตามขนาดของพื้นที่ผิว  ชนิดของวัสดุ  ความหนา  และรูปร่างของชิ้นงาน  มีผลกระทบต่อการควบคุมความแบนราบ   (flatness)  และชนิดของแม่พิมพ์มากที่สุด  compound  die  จะให้ชิ้นงานมีความแบนราบมากที่สุด
ข้อแนะนำในการออกแบบชิ้นงานปั๊ม  (Design  Recommendations)
              การออกแบบชิ้นงานปั๊มที่ดีจะต้องใช้วัตถุดิบให้คุ้มค่ามากที่สุดและสามารถ ผลิตได้โดยไม่มีของเสียเกิดขึ้น ลำดับขั้นตอนการผลิตก็มีความสำคัญเช่นกัน  กรรมวิธีที่ใช้ในการผลิตก็ยังมีข้อจำกัดในตัวเอง  ข้อแนะนำในการออกแบบแยกเป็นแต่ละกรรมวิธีหลักได้ดังนี้
Blanking
              -  มุมมองชิ้นงานควรมีรัสมีอย่างน้อยเท่กับ  0.5  เท่าของความหนาของแผ่นโลหะและแผ่นโลหะต้องมีความหนาไม่น้อยกว่า 0.8 มิลลิเมตร
              -   ความกว้างของ slot และ Tab ควรมีค่ามากกว่า 1.5 คูณความหนาของแผ่นโลหะและความยาวต้องไม่เกิน 5 เท่าของความกว้าง
              -   หลีกเลี่ยงการปั๊มส่วนโค้งครึ่งวงกลมที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากับความกว้างของแผ่นโลหะ


สนใจปรึกษาและสอบถามได้ที่ เอกชัย ไอไอที กรุ๊ป 084-7711559 หรือ www.iitgroup.in.th
เราพร้อมให้บริการ คำแนะนำ ปรึกษา เกียวกับ เครื่องพันช์ เครื่องปั้ม Turret Punch Press Murata 


สนใจปรึกษาและสอบถามได้ที่ เอกชัย ไอไอที กรุ๊ป 084-7711559 หรือ www.iitgroup.in.th
 สนใจปรึกษาและสอบถามได้ที่ เอกชัย ไอไอที กรุ๊ป 084-7711559 หรือ www.iitgroup.in.th
เราพร้อมให้บริการ คำแนะนำ ปรึกษา เกียวกับ เครื่องพันช์ เครื่องปั้ม Turret Punch Press Murata

#Murata#Muratec#เครื่องพันช์#Punch#Punching#Turret Punch Press#Turret Punch#มูราตะ#Murata punch#Murata Punching#muratec Punch#muratec Punching#งานพันช์

ความแตกต่างระหว่างระบบ NC กับระบบ CNC

ความแตกต่างระหว่างระบบ NC กับระบบ CNC
ระบบซีเอ็นซี (CNC) เป็นระบบที่พัฒนาต่อเนื่องมาจากระบบเอ็นซี (NC) ดังนั้น ความแตกต่างระหว่างระบบเอ็นซี (NC) กับระบบซีเอ็นซี (CNC) ก็จะอยู่ที่ความสามารถของระบบควบคุม นั่นคือ คอมพิวเตอร์ เมื่อนำระบบซีเอ็นซีไปควบคุมเครื่องจักรกล ความสามารถในการทำงานต่างๆ จะเพิ่มมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องจักรกลเอ็นซี
1. การแสดงภาพจำลอง (Simulation) การทำงานตามโปรแกรมที่ป้อนเข้าในระบบทางจอภาพ
2. ความจุของหน่วยความจำเพิ่มมากขึ้น สามารถเก็บข้อมูลโปรแกรมได้มาก
3. การแก้ไขและลบโปรแกรมสามารถกระทำได้ที่เครื่องจักรโดยตรง
4. สามารถส่งข้อมูลไปเก็บไว้ที่หน่วยความจำภายนอกได้
5. ระบบความปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น
6. มีการชดเชยความผิดพลาดที่เกิดจากการวัดและการส่งกำลัง
7. มีโปรแกรมสำเร็จสำหรับการคำนวณค่าต่างๆ เช่น ความเร็วรอบ อัตราป้อน เป็นต้น
ข้อดีของเครื่องจักรเอ็นซีและซีเอ็นซี เมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องจักรกลอัตโนมัติประเภทอื่นๆ
1. มีความยืดหยุ่นในการทำงานสูง การเปลี่ยนงานใหม่จะแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงเฉพาะโปรแกรมเท่านั้น
2. ความเที่ยงตรง (Accuracy) จะอยู่ระดับเดียวกันตลอดช่วงความเร็วรอบและอัตราป้อนที่ใช้ทำการผลิต
3. ใช้เวลาในการผลิต (Production Time) สั้นกว่า
4. สามารถใช้ผลิตชิ้นงาานที่มีรูปร่างซับซ้อนได้ง่าย
5. การปรับตั้งเครื่องจักรสามารถทำได้ง่าย ใช้เวลาน้อยกว่ากว่าการผลิตด้วยวิธีอื่น
6. หลีกเลี่ยงความจำเป็นที่ต้องใช้ช่างควบคุมที่มีทักษะและประสบการณ์สูง
7. ช่างควบคุมเครื่องมีเวลาว่างจากการควบคุมเครื่อง สามารถที่จัดเตรียมงาานอื่นๆ ไว้ล่วงหน้าได้
8. การตรวจสอบคุณภาพไม่จำเป็นต้องกระทำทุกขั้นตอนและทุกชิ้น
ข้อเสียของเครื่องจักรกลเอ็นซีและซีเอ็นซี
1. ราคาเครื่องจักรมีราคาค่อนข้างสูง
2. การบำรุงรักษามีความซับซ้อนมาก
3. จำเป็นต้องใช้ช่างเขียนโปรแกรม (Part programmer) ที่มีทักษะสูงและฝึกอบรมมาโดยเฉพาะ
4. ชิ้นส่วนที่ใช้ในการซ่อมบลำรุง ไม่สามารถผลิตได้ภายในประเทศ จำเป็นต้องสั่งซื้อหรือนำเข้าจากต่างประเทศ
5. การซ่อมบำรุงจะต้องใช้ช่างที่มีประสบการณ์สูงและผ่านการฝึกอบรมมาโดยเฉพาะ
6. ราคาของเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในกระบวนการการตัดเฉือน มีราคาสูง
7. พื้นที่ติดตั้งเครื่องจักร จะต้องควบคุมระดับอุณหภูมิ ความชื้นและฝุ่นละออง
ที่มาจาก   http://engineerknowledge.blogspot.com

เครื่องจักร cnc คืออะไร เรามีคำตอบ

cnc คืออะไร

CNC=Computer Numerical Control 
                    เป็นเครื่องจักรกลอัติโนมัติที่ทำงานโดยการโปรแกรมเข้าไปด้วยเครื่อง คอมพิวเตอร์ โดยจะให้มันทำงานตามแบบที่เราโปรแกรมเข้าไป มีหลายภาษาที่ใช้กับเครื่อง โดยมากจะเป็นงานโลหะที่มีความซับซ้อนและต้องการความแม่นยำสูง โดยที่การหล่อไม่สามารถทำได้หรือสามารถทำได้ก็ตาม

                เครื่องจักรกลพื้นฐานเช่น เครื่องกลึง เครื่องกัด เครื่องเจียรนัย และเครื่องตัดโลหะแผ่นเป็นเครื่องจักรกลที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อ อุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักร เครื่องยนต์ และแม่พิมพ์ ตลอดจนหน่วยงานสร้าง – ซ่อมงานโลหะโดยทั่วไป และอาจกล่าวได้ว่าความก้าวหน้าของเครื่องจักรกลประสิทธิภาพสูงหลายประเภทใน ยุคปัจจุบันล้วนแต่มีรากฐานมาจากเครื่องจักรพื้นฐานเหล่านี้ทั้งสิ้น รูปที่ 1 แสดงการทำงานของเครื่องกลึงที่ใช้แรงงานคนในการหมุนเกลียวขับเพื่อป้อนมีด กลึงเข้าหาชิ้นงาน ผู้ปฏิบัติงานกับเครื่องกลึงหรือเครื่องจักรกลพื้นฐานอื่นๆ จะต้องมีทักษะและความชำนาญในการหมุนเกลียวขับที่ใช้ในการป้อนอุปกรณ์ตัดเข้า หาชิ้นงานเป็นอย่างดี แต่ถึงกระนั้นพบได้บ่อยว่าผู้ปฏิบัติงานต้องใช้เวลามากในการผลิตชิ้นงานที่ มีความละเอียดสูง เนื่องจากข้อจำกัดด้านการมองเห็นของผู้ปฏิบัติงาน และความคลาดเคลื่อนเนื่องจากการวัดที่ต้องทำบ่อยครั้ง ในบางครั้งยังพบว่าชิ้นงานที่ได้มีความคลาดเคลื่อนทางขนาดเกินกว่าที่จะยอม รับได้


ระบบ CNC (Computer Numerical Control) เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ถูกสร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ เพื่อเปลี่ยนแปลงและควบคุมสภาพการทำงานของเครื่องจักรกลพื้นฐานดังกล่าวจาก เดิมซึ่งใช้แรงงานคนในการทำงานร่วมกับเครื่องจักร ให้เครื่องจักรเหล่านี้สามารถทำงานได้โดยอัตโนมัติด้วยตัวเอง นอกจากนี้ ระบบ CNC ยังช่วยเพิ่มความสามารถให้เครื่องจักรพื้นฐานเหล่านี้สามารถทำงานลักษณะซับ ซ้อนได้ด้วยความรวดเร็วและแม่นยำในระดับที่พ้นความสามารถในการรับรู้ของ มนุษย์โดยทั่วไปหลายสิบเท่าตัว สำหรับการประยุกต์ใช้ระบบ CNC ในเครื่องจักรพื้นฐานดังกล่าว ระบบ CNC จะประกอบไปด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าจำนวนหนึ่งซึ่งถูกนำไปใช้ในการหมุนเกลียวขับแทน มือคน และระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งใช้ในการควบคุมมุมและความเร็วที่มอเตอร์ไฟฟ้าเหล่า นั้นหมุนเกลียวขับ โดยระบบคอมพิวเตอร์ดังกล่าวสามารถควบคุมมุมของมอเตอร์ได้ด้วยความละเอียดถึง 0.1 องศาหรือดีกว่า หรือสามารถให้ความละเอียดในการป้อนอุปกรณ์ตัดเข้าสู่ชิ้นงานสูงถึง 0.02 มม หรือดีกว่า 


ในปัจจุบัน มีการใช้ระบบ CNC สำหรับเครื่องจักรพื้นฐานในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักรกล เครื่องยนต์ แม่พิมพ์ และในหน่วยงานสร้าง – ซ่อมอย่างแพร่หลาย หากประมาณคร่าวๆ มูลค่าเบื้องต้นของระบบ CNC ในอุตสาหกรรมเหล่านี้อยู่ในระดับหลายพันล้านบาท ในทางปฏิบัติระบบ CNC ดังกล่าวและผู้เชี่ยวชาญในระบบดังกล่าวถูกนำเข้าจากประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา เยอรมัน และ ญี่ปุ่น เป็นต้น ทั้งนี้เนื่องจาก CNC ดังกล่าวเป็นเทคโนโลยีระดับสูงที่ยากต่อการออกแบบและการทำความเข้าใจจน สามารถนำมาใช้งานได้จริง อย่างไรก็ตาม ดร.พินิจ งามสม ได้ใช้เวลากว่า 4 ปีในการวิจัย ออกแบบ และพัฒนา จนประสบผลสำเร็จในการสร้างระบบ CNC ที่ใช้งานได้จริง โดยงานวิจัยที่เป็นรากฐานของผลงานนี้ได้รับการพิจารณาให้เป็นบทความดีเด่น สาขา Dynamics, Systems, and Control ในการประชุมเครือข่ายวิศวกรรมเครื่องกลแห่งประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2545 และได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับสากลที่มีความแข็งแกร่งทางวิชาการ มากที่สุดเล่มหนึ่ง คือ Journal of Dynamic System, Measurement, and Control โดย American Society of Mechanical Engineers ในปี พ.ศ. 2546
ระบบ CNC ที่สร้างขึ้นนี้สามารถควบคุมมุม ความเร็ว และแรงบิดในการหมุนของมอเตอร์ไฟฟ้าภายใต้ความไม่แน่นอนของภาระงานและ คุณสมบัติภายในได้ 4 ตัวพร้อมกัน (ขยายได้เป็น 8 ตัวเพื่อการควบคุมแขนกลลักษณะต่างๆ) โดยใช้มาตรฐานรหัส G และ M ในการสั่งการ ระบบสามารถแสดงความก้าวหน้าของการทำงานได้ทั้งในเชิงต้วเลขและเชิงรูปภาพบน จอคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ยังสามารถเปลี่ยนพารามิเตอร์ของระบบควบคุมให้เข้ากับการใช้งานควบ คุมเครื่องจักรได้หลากหลายรูปแบบ เช่น เครื่องกัด, เครื่องกลึง, แขนกล, เครื่องตัดพลาสม่า, เครื่องลอกพื้นผิว, และเครื่องพับโลหะ เป็นต้น ในการทดสอบ ระบบ CNC ที่สร้างขึ้น ถูกนำไปใช้ในการควบคุมเครื่องกัดที่ทำงานในสามมิติโดยใช้มอเตอร์ไฟฟ้ากระแส ตรงจำนวน 4 ตัว ซึ่งในจำนวนนี้ มอเตอร์ 3 ตัวถูกใช้ไปในการป้อนชิ้นงานและดอกกัดในแนว X, Y, และ Z ส่วนมอเตอร์อีกหนึ่งตัวใช้ในการหมุนดอกกัดชิ้นงาน ระบบ CNC ที่ออกแบบและสร้างขึ้นนี้สามารถควบคุมให้เครื่องกัดทำงานได้โดยอัตโนมัติตาม โปรแกรมที่ตั้งไว้ ด้วยความละเอียด 0.02 มม (ถูกจำกัดด้วยระยะคลอนของเกลียวขับที่ใช้อยู่)