วันศุกร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2558

3.กิจกรรมหลักและขั้นตอนการบำรุงรักษาเชิงวางแผน Planned Maintenance (PM)

1 กิจกรรมเพื่อให้เครื่องจักรใช้งานได้ดีตลอดเวลา
ประกอบไปด้วยกิจกรรมเพื่อให้เครื่องจักรมีอัตราการใช้งานสูง (Availability) และเพื่อความสามารถในการซ่อมบำรุง (Maintainability) โดยวิธีการบำรุงรักษาที่จะช่วยส่งเสริม Availability และ Maintainability ประกอบด้วยการบำรุงรักษาแบบต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
เพื่อหยุดความเสียหาย - การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance)
- การบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ (Predictive Maintenance)
เพื่อป้องกันความเสียหาย - การบำรุงเชิงแก้ไขปรับปรุง (Corrective Maintenance)
- การป้องกันการบำรุงรักษา(Maintenance Prevention)
เพื่อความพร้อมเมื่อ - การบำรุงรักษาเมื่อขัดข้อง(Breakdown Maintenance)
เกิดการเสียหาย
2 กิจกรรมในเชิงการบริหารการบำรุงรักษา
เพื่อให้การบำรุงรักษาเชิงวางแผน Planned Maintenance (PM)ได้รับการสนับสนุน ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลเครื่องจักร อะไหล่ หรืองบประมาณต่าง ๆ โดยทั่วไปต้องมีกิจกรรมเชิงบริหาร อันประกอบไปด้วย
- การจัดการข้อมูลด้านต่าง ๆ ของเครื่องจักรในการบำรุงรักษา (Maintenance Information Management)
- การจัดการชิ้นส่วนและอะไหล่ (Spare Part Management)
- การจัดการต้นทุนการบำรุงรักษา (Maintenance Cost Management)
3 กิจกรรมสนับสนุนจากฝ่ายผลิต
เพื่อให้การบำรุงรักษาบรรลุวัตถุประสงค์ ในการดำเนินการตามแนวทางของ TPM จำเป็นต้องมีการปฏิบัติร่วมกันระหว่าง ฝ่ายซ่อมบำรุงกับฝ่ายผลิต โดยกิจกรรมของฝ่ายผลิตที่ต้องการเพื่อสนับสนุนการบำรุงรักษาตามแผน ก็คือ
- การบำรุงรักษาด้วยตนเอง (Autonomous Maintenance)
- การปรับปรุงเฉพาะเรื่อง (Individual Improvement)
ขั้นตอนการติดตั้งการบำรุงรักษาเชิงวางแผนในองค์กร จะมี 6 ขั้นตอนดังนี้
STEP 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันเครื่องจักรที่มีอยู่ทั้งหมด
STEP 2 ฟื้นฟูสภาพเสื่อมและแก้ไขจุดบกพร่องของเครื่องจักร
STEP 3 สร้างระบบการบริหารข้อมูลบำรุงรักษา
STEP 4 สร้างระบบการบำรุงรักษาตามระยะเวลา (Periodic Maintenance)
STEP 5 สร้างระบบการบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์
STEP 6 ประเมินผลการบำรุงรักษาตามแผนงาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น