วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ความรู้ดีๆเรื่องงานพันช์ โลหะแผ่น จาก ไอไอที กรุ๊ป






กระบวนการตัดโลหะแผ่นทั่วไป (Conventional sheet metal cutting process)
   กระบวนการตัดโลหะแผ่น คือ กระบวนการที่ทำให้โลหะแผ่นแตกขาดออกจากกันด้วยแรงกระทำผ่านคมตัดสองคมตัดให้ ได้ชิ้นงานรูปร่างตามที่ต้องการ ทั้งนี้ อาจตัดเพื่อให้ได้รูปร่างต่างๆ ตามที่ต้องการ เช่น วงกลม สี่เหลี่ยม หรือการตัดเพื่อลดขนาดความกว้างของแผ่นชิ้นงาน หรือการตัดขอบของชิ้นงานที่ผ่านกระบวนการขึ้นรูปอื่นๆ มาก่อน ดังนั้นกระบวนการตัดโลหะแผ่นจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการขึ้นรูปโลหะ แผ่น
กระบวนการตัดโลหะแผ่นจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการขึ้นรูปโลหะแผ่น กระบวนการตัดโลหะแผ่นสามารถจำแนกออกอย่างง่ายได้ดังนี้ กระบวนการตัดโลหะแผ่นทั่วไป และกระบวนการตัดโลหะแผ่นความเที่ยงตรง โดยในบทนี้กล่าวถึงกระบวนการตัดโลหะแผ่นทั่วไป สำหรับกระบวนการตัดโลหะแผ่นความเที่ยงตรงจะได้กล่าวโดยละเอียดในบทความต่อๆ ไป
หลักการและส่วนประกอบของกระบวนการตัดโลหะแผ่นทั่วไป
หลักการของกระบวนการตัดโลหะแผ่นทั่วไป คือ การให้แรงกระทำต่อคมตัดสองคมตัดและทำให้เกิดการแตกขาดของวัสดุออกจากกัน หลักการทำงานของกระบวนการตัดโลหะแผ่นทั่วไป โดยกระบวนการตัดสามารถแบ่งลำดับขั้นตอนการทำงานออกได้เป็น 3 ขั้นตอนตามลำดับ คือ
ขั้นที่ 1 เมื่อคมตัดบนเคลื่อนที่กดลงบนแผ่นโลหะทำให้แผ่นโลหะเกิดการเปลี่ยนรูปอย่าง ถาวร และเกิดส่วนโค้งมนขึ้นที่แผ่นโลหะทั้งสองฝั่ง เรียกขั้นตอนนี้ว่า ช่วงการเปลี่ยนรูปอย่างถาวร
ขั้นที่ 2 เป็นช่วงที่คมตัดเคลื่อนที่ลงมาอย่างต่อเนื่องและทำให้เกิดส่วนเรียบตรงก่อน เกิดการแตกขาด ดังแสดง เรียกขั้นตอนนี้ว่า ช่วงระยะการกินลึก
ขั้นที่ 3 เป็นช่วงที่คมตัดบนเคลื่อนที่ลงมาอย่างต่อเนื่องจากการเกิดส่วนเรียบตรงจนทำให้วัสดุเกิดการแตกขาด เรียกขั้นตอนนี้ว่า ช่วงการแตกขาด





จากหลักการกระบวนการตัด เมื่อนำแผ่นโลหะที่ผ่านการตัดมาพิจารณาดูบริเวณที่เกิดการตัด ลักษณะของรอยตัดที่เกิดขึ้นที่บริเวณผิวรอยตัด ประกอบด้วย 4 ส่วน คือ
(1) ส่วนโค้งมน เกิดขึ้นบริเวณด้านบนสุด
(2) ส่วนเรียบตรง เกิดต่อเนื่องจากส่วนโค้งมนมีลักษณะมันเงา และได้ฉากกับผิวด้านบนของแผ่นโลหะ
(3) รอยแตกขาด เกิดต่อเนื่องจากส่วนเรียบตรงลงมา โดยมีลักษณะเป็นรอยขรุขระและเว้าเข้าไปภายในเนื้อวัสดุ และ
(4) ครีบ เกิดต่อเนื่องจากรอยแตกขาดมีลักษณะเป็นขอบคม โดยสัดส่วนลักษณะของรอยตัดขึ้นอยู่กับระยะห่างของช่องว่างของคมตัดบน (พันช์) และคมตัดล่าง (ดาย) และเรียกช่องว่างของคมตัดว่า ช่องว่างแม่พิมพ์ หรือ เคลียแรนซ์ (Clearance)
ถ้ากำหนดระยะช่องว่างแม่พิมพ์น้อยเกินไปทำให้เกิดลักษณะของส่วนเรียบตรง และรอยแตกขาดที่สอง (Secondary smooth shear surface and fracture) เกิดขึ้น และถ้ากำหนดระยะช่องว่างแม่พิมพ์มากเกินไป ทำให้เกิดการแตกขาดได้ง่ายขึ้น ส่งผลทำให้เกิดส่วนเรียบตรงลดลงแต่รอยแตกขาดเพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงต้องมีการกำหนดขนาดของระยะช่องว่างแม่พิมพ์ที่เหมาะสม โดยระยะช่องว่างแม่พิมพ์ที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับชนิดและความหนาของวัสดุ
สำหรับหลักการของกระบวนการตัดโลหะแผ่นทั่วไปโดยละเอียดนั้น สามารถอธิบายได้ด้วยความสัมพันธ์ของแรงและระยะการเคลื่อนที่พันช์ คือ เมื่อเริ่มเคลื่อนที่พันช์กดลงบนวัสดุที่จะตัดทำให้เกิดแรงตัดเพิ่มขึ้น วัสดุเริ่มเปลี่ยนแปลงรูปร่างและเกิดส่วนโค้งมนขึ้น และเมื่อเคลื่อนที่พันช์ต่อเนื่องแรงตัดจะเพิ่มขึ้นและเกิดส่วนเรียบตรงขึ้น ที่บริเวณรอยตัดของวัสดุ จากนั้นแรงตัดจะค่อยๆ เพิ่มขึ้น จนกระทั่งถึงจุดสูงสุดค่าหนึ่ง วัสดุเริ่มเกิดรอยแตกขาดขึ้นที่บริเวณขอบคมตัดของพันช์และดาย หลังจากเกิดรอยแตกขาดแล้ว แรงตัดจะลดลงอย่างรวดเร็ว
ในขณะเดียวกันรอยแตกขากเกิดขึ้นต่อเนื่องอย่างรวดเร็วเข้าหากันจากฝั่ง พันช์และดาย ซึ่งตำแหน่งที่วัสดุเกิดการแตกขาดจากกัน (Break through) ทำให้เกิดเสียงดังและเครื่องเพรสอาจเกิดการสั่น หลังจากที่วัสดุแตกขาดออกจากกัน พันช์ยังคงเคลื่อนที่ดันวัสดุที่แตกขาดนั้นเข้าสู่รูตาย ก่อนเคลื่อนที่กลับ ตามลำดับ โดยในขณะที่พันช์เคลื่อนที่กลับข้องเอาชนะแรงที่ใช้ในการปลดแผ่นวัสดุที่ติด อยู่ที่พันช์ออก ซึ่งมีทิศทางตรงกันข้ามกับแรงที่เกิดขึ้นในขณะกดตัดวัสดุ

สนใจปรึกษาและสอบถามได้ที่ เอกชัย ไอไอที กรุ๊ป 084-7711559 หรือwww.iitgroup.in.th
เราพร้อมให้บริการ คำแนะนำ ปรึกษา เกียวกับ เครื่องพันช์ เครื่องปั้ม Turret Punch Press Murata 

#‎Murata‬#Muratec# เครื่องพันช์#Punch#Punching#Turret Punch Press#Turret Punch#มูราตะ#Murata punch#Murata Punching#muratec Punch#murate

การเลือกซื้อเครื่องกัด CNC หรือ Machining Center

การเลือกซื้อเครื่องกัด CNC หรือ Machining Center
ก่อนที่ท่านจะซื้อเครื่อง CNC ท่านจะคำนึงถึงอะไรบ้าง
คำนึงงานของท่าน
1 ราคา, จำนวน ถ้างานท่านราคาสูง จำนวนมาก เน้น precision ท่านก็ควรจะเลือกเครื่อง hi-end เพราะ
คุณภาพงานของท่านจะออกมาอย่างน่าพึงพอใจ เน้นพวกเครื่องญี่ปุ่น ครับ ถ้าแบบธรรมดาใช้งานได้ คุณภาพดี ไม่เวอร์ก็ Taiwan ครับ
2 ขนาด เพื่อจะได้เลือกขนาดโต๊ะและระยะทำงานได้เหมาะสม

SPEC เครื่อง
1 ราง Slide ท่านอยากได้ Linear หรือ Boxway
ถ้าคิดถึงเรื่องความทนทาน กัดงานหนัก ท่านก็อาจจะนึกถึง Boxway แต่ทว่า ข้อเสียของมันก็มีหลายประการอยู่
- เปลืองน้ำมันหล่อราง
- เวลาเสีย ซ่อมยากและเสียเวลามาก
- คนไทยยังไม่ค่อยมีคนชำนาญการซ่อมและอาจจะกลับมาไม่ดีเหมือนเดิมส่วน Linear Guideway นั้น อาจจะบอบบางกว่า Boxway แต่ด้วยความที่เปลี่ยนง่าย ราคาไม่แพงจึงทำให้มันเป็นที่นิยมกว่า Boxway เป็นไหนๆ อีกอย่างคือ เทคโนโลยีสมัยนี้ Linear Guideway มีแบบ Roller ซึ่งภายในมีหน้าสัมผัสเต็มสามารถรับแรงได้มากกว่า แบบเก่า (Ball Linear guideway)จึงทำให้ Roller Linear Guideway มีความนิยมเป็นอย่างสูง




2.SPINDLE ระบบขับแรงของ Spindle แบบ 1.สายพาน 2.Direct coupling 3.Motor Spindle 4. Gear drive
ซึ่งถ้าอยากได้แบบ high speed ท่านควรจะเลือกแบบที่ 2 และ 3 ซึ่งจะได้ความรวดเร็วในการทำงานถ้าจะให้ดีแบบ Moter spindle จะดีที่สุดเพราะมอเตอร์จะัขับตรงไปที่ Spindle เลย แต่ราคาก็จะไม่ใช่ย่อย
เหมือนกันครับ ส่วนที่ไม่ได้กล่าวถึง แบบสายพานเพราะว่า เป็นแบบ Standard ที่ใช้กันปกติอยู่แล้ว
ส่วน gear นั้นเหมาะกับงานกัดหนัก กัดแหลก เอาความดุดันเข้าว่า ใช้ได้ทนทาน 





3.Automatic Tool Change 1 แบบ CAM (หรือ Umbrella,Armless) 2 ARM TYPE (แบบแขนเหวี่ยง) แบบที่2 ดีกว่า ที่ ใส่ tool ได้เยอะกว่า และ รวดเร็วกว่าในการเปลี่ยน tool



4.Chip Conveyer 1. แบบ Screw 2. แบบ สายพานลำเลียงใช้ได้เหมือนกัน แต่แบบที่ 2 ดีกว่าที่รวดเร็วเศษไม่มีทางดิด แต่ก็แพงกว่าครับ



ส่วนมาก STANDARD ของเครื่อง จะเป็น Linear Guideway,Spindle ขับจากสายพาน, Armless Tool changer,และ Screw chip conveyer  แต่ถ้าต้องการ option ตามการใช้งาน ก็สามารถเลือกใน Serie ที่สูงขึ้นได้ครับ
ความเข้าใจในการเลือกใช้เครื่อง CNC
เหตุผลที่ต้องใช้เครื่อง CNC
บรรดาผู้ที่อยู่ในแวดวงอุตสาหกรรมเครื่อง CNC ต่างตระหนักรู้ดีถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของเจ้าเครื่องชนิดนี้ จึงเป็นเหตุให้ใครต่อใครยอมควักกระเป๋าลงทุนซื้อ เพื่อผลทางธุรกิจได้ไม่ยาก เรามาดูเหตุผลที่ต้องใช้เครื่อง cnc กันดีกว่าว่ามันดีอย่างไร ทำไมใครๆก็ต้องยอมซื้อเจ้าตัวเครื่องนี้มาใช้งาน
1. มีความแม่นยำสูงในการปฏิบัติงาน เพราะชิ้นงานทุกชิ้นต้องการขนาดที่แน่นอน
2. ชิ้นงานทุกชิ้นมีคุณภาพสม่ำเสมอเท่ากันหมด เนื่องจากผลิตโดยใช้โปรแกรมในการควบคุมการทำงานของเครื่องจักร CNC
3. โอกาสเกิดความเสียหายต่อชิ้นงานหรือต้องแก้ไขชิ้นงานจะมีน้อยมากหรือแทบจะ ไม่มีเลย เพราะชิ้นงานที่ทำจะใช้โปรแกรม ในการควบคุม
ถ้าเกิดปัญหาข้อผิดพลาดก็จะแก้ไขได้ที่ตัว โปรแกรม
4. สามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมงโดยไม่ต้องหยุดพักเครื่อง เพียงแต่ต้องมีผู้ควบคุมประจำเครื่อง
5. มีความรวดเร็วสูงในการผลิต ทำให้ได้ผลผลิตสูง และสามารถกำหนดระยะเวลาในการผลิตชิ้นงานได้ว่าใช้เวลาในการทำงานเท่าไร
6. สามารถคาดคะแนและวางแผนการผลิตได้อย่างแม่นยำ เพราะรู้ระยะเวลาในการผลิต สามารถกำหนดหรือส่งสินค้าได้ตรงตามวันและเวลา
7. สามารถสลับเปลี่ยนรูปแบบของชิ้นงานได้หลากหลายรูปแบบ เนื่องจากสะดวกและรวดเร็วในการทำงานเพราะใช้โปรมแกรมในการสั่งงาน
8. เมื่อเปรียบเทียบจำนวนผลผลิตที่เท่ากัน เครื่องจักร CNC ใช้พื้นที่น้อยกว่าและลดพื้นที่การจัดเก็บชิ้นงาน
9. มีความสะดวกและรวดเร็ว สำหรับใช้ในการผลิตชิ้นงานต้นแบบที่มีการแก้ไขบ่อย ๆ เพราะเวลาแก้ไขสามารถแก้ไขได้ที่โปรแกรม
10. ชิ้นงานที่มีความซับซ้อนสูงและมีหลายขั้นตอนในการผลิต สามารถใช้เครื่องจักร CNC เพียงเครื่องเดียวในการผลิต ทำให้ไม่เสียเวลามาก
11. ลดขั้นตอนในการตรวจสอบคุณภาพ เพราะชิ้นงานนั้นจะได้ขนาดเท่ากันทุกชิ้น แต่ควรที่จะกำหนดค่าของความเร็วรอบที่จะใช้ ความเร็วในการตัดตัดให้เหมาะสมเพื่อลดอายุการใช้งานของทูล
12. ทำให้สามารถใช้ ทูล หรือ เครื่องมือตัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะจะต้องคำนวณค่าต่าง ๆ มา ก่อนลงมือปฏิบัติงานกับเครื่องจักร CNC
13. ลดแรงงานในสายการผลิตลงเนื่องจาก ผู้ควบคุมเครื่อง 1 คน สามารถคุมได้ 3 -4 เครื่อง
14. ใช้อุปกรณ์เสริมน้อย แต่ผู้ใช้จะต้องเข้าใจโปรแกรมในการสั่งงาน
คงจะทราบกันแล้วใช่มั้ยล่ะครับว่าทำไมเจ้าของธุรกิจหรืออุตสาหกรรมต่างๆถึงยอมจ่ายกับเครื่อง cnc เพราะมันดีอย่างนี้นี่เอง ไม่มีไม่ได้แล้วใช่มั้ยล่ะครับประสิทธิภาพของเจ้าเครื่องนี้ล้นเหลือจริงๆ
เครื่อง Wirecut เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการตัดชิ้นงานที่มีความละเอียดสูงสามารถตัดได้ความ ละเอียดสูงสุด ±0.003 MM. ใช้ในงานแม่พิมพ์เป็นส่วนใหญ่ หลักการคือ จ่ายกระแสไฟฟ้าขั้ว (-)ไปที่ลวดทองเหลืองและ จ่ายกระแสไฟฟ้าขั้ว (+)ไปที่ชิ้นงาน COMPUTER จะทำหน้าที่คำนวนกระแสไฟฟ้าและกำหนดทิศทางการตัดทั้งหมด  สามารถทำชิ้นงานที่มีรูปร่างเล็กมากๆได้เพราะ TOOL ของเครื่องคือ ลวดทองเหลือง เล็กสุดได้ Ø 0.1-0.3 MM.



กระบวนการตัดโลหะแผ่นทั่วไป (Conventional sheet metal cutting process)
   กระบวนการตัดโลหะแผ่น คือ กระบวนการที่ทำให้โลหะแผ่นแตกขาดออกจากกันด้วยแรงกระทำผ่านคมตัดสองคมตัดให้ ได้ชิ้นงานรูปร่างตามที่ต้องการ ทั้งนี้ อาจตัดเพื่อให้ได้รูปร่างต่างๆ ตามที่ต้องการ เช่น วงกลม สี่เหลี่ยม หรือการตัดเพื่อลดขนาดความกว้างของแผ่นชิ้นงาน หรือการตัดขอบของชิ้นงานที่ผ่านกระบวนการขึ้นรูปอื่นๆ มาก่อน ดังนั้นกระบวนการตัดโลหะแผ่นจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการขึ้นรูปโลหะ แผ่น
กระบวนการตัดโลหะแผ่นจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการขึ้นรูปโลหะแผ่น กระบวนการตัดโลหะแผ่นสามารถจำแนกออกอย่างง่ายได้ดังนี้ กระบวนการตัดโลหะแผ่นทั่วไป และกระบวนการตัดโลหะแผ่นความเที่ยงตรง โดยในบทนี้กล่าวถึงกระบวนการตัดโลหะแผ่นทั่วไป สำหรับกระบวนการตัดโลหะแผ่นความเที่ยงตรงจะได้กล่าวโดยละเอียดในบทความต่อๆ ไป
หลักการและส่วนประกอบของกระบวนการตัดโลหะแผ่นทั่วไป
หลักการของกระบวนการตัดโลหะแผ่นทั่วไป คือ การให้แรงกระทำต่อคมตัดสองคมตัดและทำให้เกิดการแตกขาดของวัสดุออกจากกัน หลักการทำงานของกระบวนการตัดโลหะแผ่นทั่วไป โดยกระบวนการตัดสามารถแบ่งลำดับขั้นตอนการทำงานออกได้เป็น 3 ขั้นตอนตามลำดับ คือ
ขั้นที่ 1 เมื่อคมตัดบนเคลื่อนที่กดลงบนแผ่นโลหะทำให้แผ่นโลหะเกิดการเปลี่ยนรูปอย่าง ถาวร และเกิดส่วนโค้งมนขึ้นที่แผ่นโลหะทั้งสองฝั่ง เรียกขั้นตอนนี้ว่า ช่วงการเปลี่ยนรูปอย่างถาวร
ขั้นที่ 2 เป็นช่วงที่คมตัดเคลื่อนที่ลงมาอย่างต่อเนื่องและทำให้เกิดส่วนเรียบตรงก่อน เกิดการแตกขาด ดังแสดง เรียกขั้นตอนนี้ว่า ช่วงระยะการกินลึก
ขั้นที่ 3 เป็นช่วงที่คมตัดบนเคลื่อนที่ลงมาอย่างต่อเนื่องจากการเกิดส่วนเรียบตรงจนทำให้วัสดุเกิดการแตกขาด เรียกขั้นตอนนี้ว่า ช่วงการแตกขาด
จากหลักการกระบวนการตัด เมื่อนำแผ่นโลหะที่ผ่านการตัดมาพิจารณาดูบริเวณที่เกิดการตัด ลักษณะของรอยตัดที่เกิดขึ้นที่บริเวณผิวรอยตัด ประกอบด้วย 4 ส่วน คือ
(1) ส่วนโค้งมน เกิดขึ้นบริเวณด้านบนสุด
(2) ส่วนเรียบตรง เกิดต่อเนื่องจากส่วนโค้งมนมีลักษณะมันเงา และได้ฉากกับผิวด้านบนของแผ่นโลหะ
(3) รอยแตกขาด เกิดต่อเนื่องจากส่วนเรียบตรงลงมา โดยมีลักษณะเป็นรอยขรุขระและเว้าเข้าไปภายในเนื้อวัสดุ และ
(4) ครีบ เกิดต่อเนื่องจากรอยแตกขาดมีลักษณะเป็นขอบคม โดยสัดส่วนลักษณะของรอยตัดขึ้นอยู่กับระยะห่างของช่องว่างของคมตัดบน (พันช์) และคมตัดล่าง (ดาย) และเรียกช่องว่างของคมตัดว่า ช่องว่างแม่พิมพ์ หรือ เคลียแรนซ์ (Clearance)
ถ้ากำหนดระยะช่องว่างแม่พิมพ์น้อยเกินไปทำให้เกิดลักษณะของส่วนเรียบตรง และรอยแตกขาดที่สอง (Secondary smooth shear surface and fracture) เกิดขึ้น และถ้ากำหนดระยะช่องว่างแม่พิมพ์มากเกินไป ทำให้เกิดการแตกขาดได้ง่ายขึ้น ส่งผลทำให้เกิดส่วนเรียบตรงลดลงแต่รอยแตกขาดเพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงต้องมีการกำหนดขนาดของระยะช่องว่างแม่พิมพ์ที่เหมาะสม โดยระยะช่องว่างแม่พิมพ์ที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับชนิดและความหนาของวัสดุ
สำหรับหลักการของกระบวนการตัดโลหะแผ่นทั่วไปโดยละเอียดนั้น สามารถอธิบายได้ด้วยความสัมพันธ์ของแรงและระยะการเคลื่อนที่พันช์ คือ เมื่อเริ่มเคลื่อนที่พันช์กดลงบนวัสดุที่จะตัดทำให้เกิดแรงตัดเพิ่มขึ้น วัสดุเริ่มเปลี่ยนแปลงรูปร่างและเกิดส่วนโค้งมนขึ้น และเมื่อเคลื่อนที่พันช์ต่อเนื่องแรงตัดจะเพิ่มขึ้นและเกิดส่วนเรียบตรงขึ้น ที่บริเวณรอยตัดของวัสดุ จากนั้นแรงตัดจะค่อยๆ เพิ่มขึ้น จนกระทั่งถึงจุดสูงสุดค่าหนึ่ง วัสดุเริ่มเกิดรอยแตกขาดขึ้นที่บริเวณขอบคมตัดของพันช์และดาย หลังจากเกิดรอยแตกขาดแล้ว แรงตัดจะลดลงอย่างรวดเร็ว
ในขณะเดียวกันรอยแตกขากเกิดขึ้นต่อเนื่องอย่างรวดเร็วเข้าหากันจากฝั่ง พันช์และดาย ซึ่งตำแหน่งที่วัสดุเกิดการแตกขาดจากกัน (Break through) ทำให้เกิดเสียงดังและเครื่องเพรสอาจเกิดการสั่น หลังจากที่วัสดุแตกขาดออกจากกัน พันช์ยังคงเคลื่อนที่ดันวัสดุที่แตกขาดนั้นเข้าสู่รูตาย ก่อนเคลื่อนที่กลับ ตามลำดับ โดยในขณะที่พันช์เคลื่อนที่กลับข้องเอาชนะแรงที่ใช้ในการปลดแผ่นวัสดุที่ติด อยู่ที่พันช์ออก ซึ่งมีทิศทางตรงกันข้ามกับแรงที่เกิดขึ้นในขณะกดตัดวัสดุ
เทคโนโลยีเครื่องพันซ์ (Punch Press) ก้าวหน้าไปมาก มีทั้งแบบที่ใช้มอเตอร์มาควบคุม แบบไฮดรอลิก และแบบแมคคานิก ที่เป็นที่นิยมมากคงจะไม่พ้น มอเตอร์ควบคุม หรือที่เราเรียกว่า Servo motor สะดวกสบายมากที่เดียวในการใช้งานทูลหลากหลายรูปแบบ และ Vari-tool ก็เป็นหนึ่งในนั้น

Vari-tool นั้นจะประกอบไปด้วยทูลย่อยๆ รวมอยู่ใน 1 เสตชั่น หรือ 1 หัว โดยทูลย่อยๆเหล่านั้น สามารถเลือกใส่ได้อย่างหลากหลายรูปแบบกันเลบทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นวงกลม สีเหลี่ยม และ สีเหลี่ยมหัวกลม

นอกจากนี้ Vari-tool ยังมีให้ใช้มากถึง 12 ทูลย่อย และก็ยังสามารถใช้เจาะรูเหล็กหนาได้สูงถึง 3.2 มิลลิเมตร เรียกได้ว่า เป็นทูลที่อำนวยความสะดวกอย่างมากในการทำงาน




ประโยชน์ของ Vari-tool นั้น ทำให้ลดการใช้ช่องใส่ทูลแบบที่เป็น Turret ลงถึง 11 ช่อง นั้นหมายถึงลดค่าใช้จ่ายของตัว Punch holder และ Die holder ลงถึง 11 ชุด ยังลดระยะเวลาการหมุนเปลี่ยนทูลของเครื่องลงอีกด้วย


#WIEDEMANN #MURATA #MURATEC #MURATAtool

สนใจปรึกษาและสอบถามได้ที่ เอกชัย ไอไอที กรุ๊ป 084-7711559 หรือwww.iitgroup.in.th
เราพร้อมให้บริการ คำแนะนำ ปรึกษา เกียวกับ เครื่องพันช์ เครื่องปั้ม Turret Punch Press Murata 

#‎Murata‬#Muratec# เครื่องพันช์#Punch#Punching#Turret Punch Press#Turret Punch#มูราตะ#Murata punch#Murata Punching#muratec Punch#muratec Punching#งานพันช์#งานโลหะแผ่น#เครื่องพันช์ cnc
 หลายต่อหลายครั้งที่ทูลลิ่งมีการตัดชิ้นงาน มักจะมีส่วนของชิ้นเนื้อเหล็กที่มีความคมอยู่รอบๆรอยตัดของชิ้นงาน
และมักจะนำชิ้นงานที่มีความคมเหล่านั้น มาผ่านขั้นตอนการขัดหรือลบคมด้วยมือ ซึ่งจะเพิ่มเวลาในการทำงานขึ้นไปอีก

ฉะนั้นจึงเกิดทูลลิ่งสำหรับลบคมขึ้นมา เราเรียกว่า Deburring Tool






โดยให้ Deburring Tool วิ่งไปตามขอบของรอยตัดที่ชิ้นงาน อาศัยกระบวนการของทูลลิ่งช่วยในการลบคม ทำให้ลดระยะเวลา ในการทำงานลงเป็นอย่างมาก นอกจากลดระยะเวลาแล้วยังลดค่าใช้จ่ายลงในเวลาเดียวกัน





สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ IIT Group #MURATA #MURATEC #WIEDEMANN

สนใจปรึกษาและสอบถามได้ที่ เอกชัย ไอไอที กรุ๊ป 084-7711559 หรือwww.iitgroup.in.th
เราพร้อมให้บริการ คำแนะนำ ปรึกษา เกียวกับ เครื่องพันช์ เครื่องปั้ม Turret Punch Press Murata 

#‎Murata‬#Muratec# เครื่องพันช์#Punch#Punching#Turret Punch Press#Turret Punch#มูราตะ#Murata punch#Murata Punching#muratec Punch#muratec Punching#งานพันช์#งานโลหะแผ่น#เครื่องพันช์ cnc

วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

วันนี้เราขอแนะนำทีมงาน SERVICE ของ IIT GROUP เรามีทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านงานของเครื่องจักร เรายินดีรับบริการงานซ่อมบำรุงเครื่องจักร (Maintenance) ติดตั้ง (Installation) ซ่อม (Repair) ปรับแต่ง (Modify
ยกเครื่อง (Overhaul) และบริการอะไหล่เครื่องจักร (Parts)

เรายังมี 60 MINS Quick Call Service เพื่อรับประกัน
เมื่อเครื่องจักรของท่านมีปัญหา ภายใน 60 นาที จะต้องมีทีมงานของ IIT ติดต่อกลับเพื่อรับทราบปัญหา และนัดหมายเข้าซ่อม เพื่อทำให้ปัญหาของลูกค้า ได้รับการแก้ไขอย่างทันท่วงที...

ทีมงาน SERVICE ของเราพร้อมยินดีรับใช้ลูกค้าทุกท่าน ขอเพียงติดต่อบอกปัญหาเครื่องจักรของท่าน เราก็ยินดีรีบให้บริการดังเช่นสโลแกน 
IIT GROUP

“ การบริการที่เป็นเลิศ จากมุมมองของลูกค้า ”

ติดต่อ IIT GROUP เบอร์โทร 02-195-7347- 49 
หรือ 
www.iitgroup.in.th

"มองหาคุณภาพงานซ่อมเครื่องจักร เจาะจง IIT GROUP"

*** ที่ไหนซ่อมไม่จบบริการไม่ถูกใจ 
ลองเรียกใช้ IIT GROUP ชื่อนี้ไม่ผิดหวังครับ...



เตรียมพบกับเรา ไอไอที กรุ๊ป ในงาน Metalex 2015 เครื่องพับดีๆ เครื่องพันช์ดีๆ สัญชาติญี่ปุ่น ส่งตรงจากแดนอาทิตย์อุทัย พร้อมส่งถึงมือท่าน มาพร้อมกับโปรดีๆและเงื่อนไขดีๆ ราคาพิเศษ ได้ในงาน Metalex 2015 เจอกันได้ที่ Hall 102 Booth J23 วันที่ 18-21 พฤศจิกายน 2015 เข้าชมบูธพร้อมรับของที่ระลึกกลับบ้าน แล้วเจอกันนะครับ


สนใจปรึกษาและสอบถามได้ที่ เอกชัย ไอไอที กรุ๊ป 084-7711559 หรือwww.iitgroup.in.th
เราพร้อมให้บริการ คำแนะนำ ปรึกษา เกียวกับ เครื่องพันช์ เครื่องปั้ม Turret Punch Press Murata 

#‎Murata‬#Muratec# เครื่องพันช์#Punch#Punching#Turret Punch Press#Turret Punch#มูราตะ#Murata punch#Murata Punching#muratec Punch#muratec Punching#งานพันช์#งานโลหะแผ่น#เครื่องพันช์ cnc

คนกับเครื่องจักร คุณให้ความสำคัญกับอะไรมากกว่ากัน


ในปัจจุบันนี้เกือบทุกองค์กรต่างก็มีคำพูดว่า “เราให้ความสำคัญกับทรัพยากรบุคคลอย่างที่สุด” แต่ก็มีอีกหลายองค์กรที่เขียนนโยบายที่เน้นความสำคัญกับการบริหารทรัพยากร บุคคล แต่เอาเข้าจริงๆ กลับไม่ค่อยใส่ใจในเรื่องการบริหารคนสักเท่าไหร่ องค์กรของเราเน้นและให้ความสำคัญกับการบริหารทรัพยากรบุคคลสักแค่ไหน ลองพิจารณาประเด็นเหล่านี้ดูนะครับ
  • องค์กรมีการวางแผนเพิ่มเครื่องจักรทุกปี แต่ไม่เคยมีการวางแผนกำลังคน เรียกได้ว่า แผนในการเพิ่มกำลังการผลิตโดยใช้เครื่องจักรใหม่นั้น จะมีการวางแผนและกำหนดแผนปฏิบัติการกันอย่างรัดกุม และให้ความสำคัญอย่างมาก แต่ไม่เคยที่จะมีการวางแผนกำลังคนเลยว่า จะต้องหาคนใหม่ ทดแทน หรือ สร้างคนขึ้นมาอย่างไรบ้างในแต่ละปี มีแต่ปล่อยให้พนักงานทำงานกันไปเรื่อยๆ
  • ให้ความสำคัญในการสรรหาและคัดเลือกผู้ขายเครื่องจักร มากกว่าการสรรหาคัดเลือกพนักงานเข้ามาทำงาน กรณีนี้ เกิดขึ้นในหลายๆ องค์กรเหมือนกันนะครับ กล่าวคือ ผู้บริหารเน้นไปที่การสรรหาคัดเลือก ผู้ขายเครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพ มีการให้บริการหลังการขาย รวมทั้งมีการติดต่อเพื่อให้เข้ามานำเสนอการขาย สอบถามรายละเอียดต่างๆ เพื่อให้แน่ใจว่า เครื่องจักรนี้สามารถที่จะใช้งานได้จริง และมีประสิทธิภาพสูงสุด แต่สำหรับการสรรหาคัดเลือกพนักงาน กลับดูผ่านๆ ไม่ค่อยให้ความสำคัญเท่าไหร่นัก อยากได้คนแบบไหนก็ไม่เคยระบุคุณสมบัติที่ชัดเจนแน่นอน เหมือนกับคุณสมบัติของเครื่องจักร พอถึงเวลาคัดเลือก ก็รีบๆ สัมภาษณ์ไปให้จบๆ เพราะกลัวว่าไม่มีเวลาไปดูแลเครื่องจักรที่เพิ่งซื้อมา
  • ให้ความสำคัญกับการดูแลบำรุงรักษาเครื่องจักรมากกว่าการดูแลบำรุงรักษาคนในองค์กรในประเด็นนี้อีกเช่นกัน องค์กรมักจะมีการวางแผนเพื่อที่จะบำรุงรักษาเครื่องจักรที่ใช้ในการทำ งานอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ถึงเวลาที่จะต้องเปลี่ยนอะไหล่ ก็ยอมเสียเงินเพื่อเปลี่ยนชิ้นส่วนอะไหล่ตามกำหนด โดยไม่รู้สึกเสียดายเงินเลย แต่ในทางตรงกันข้าม การบำรุงรักษาคนไม่ว่าจะเป็นการลงทุนเพื่อที่จะพัฒนาคน ให้มีความรู้ความสามารถเพิ่มขึ้น การลงทุนเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาล หรือการสร้างชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีให้กับพนักงาน กลับรู้สึกเสียดายเงินที่ต้องจ่ายเพื่อบำรุงรักษาสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับตัวพนักงาน เพราะรู้สึกว่าทำไปก็ไม่คุ้มกับเงินที่เสียไป
  • เวลาที่ผู้ขายขึ้นราคาเครื่องจักรหรืออะไหล่ ก็ยินดีที่จะจ่ายมากกว่าการขึ้นเงินเดือนของพนักงาน ถ้า มองเรื่องนี้เป็นต้นทุน ก็ถือเป็นต้นทุนระยะยาวทั้งคู่ แต่ทำไมบางองค์กรถึงไม่ค่อยรู้สึกอะไรมากในกรณีที่ผู้ขายเครื่องจักรขอขึ้น ราคาค่าอะไหล่ หรือค่าบริการ เราก็ทำงบประมาณจ่ายไปได้โดยไม่ต้องคิดอะไรมาก แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่มีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ หรือในกรณีถึงรอบการขึ้นเงินเดือนประจำปี ผู้บริหารมักจะต้องคิดมาก คิดหนัก ยิ่งไปกว่านั้นบางแห่งคิดไปถึงขั้นว่า จะมีวิธีการเลี่ยงอย่างไรให้ขึ้นเงินเดือนน้อยที่สุด เพื่อไม่ต้องการให้ต้นทุนทางด้านพนักงานสูงขึ้น
  • ดูผลงานของเครื่องจักรแทบทุกสัปดาห์ แต่ผลงานของพนักงานกับดูไม่ออก เรื่อง ของผลงานก็เช่นกัน พอให้ประเมินผลงานของเครื่องจักรที่ใช้อยู่กลับสามารถประเมินประสิทธิภาพได้ อย่างชัดเจน และถ้าเครื่องจักรไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ก็พยายามหาวิธีการในการเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องจักรให้ได้ แต่ถ้าเป็นเรื่องของการประเมินผลงานพนักงาน กลับทำแบบขอไปที ไม่เคยมองว่าพนักงานคนไหน มีจุดแข็งหรือจุดอ่อนอะไร จะได้เอาไปพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงานให้สูงขึ้นบ้าง กลับบ่อยให้เกิดปัญหากันมากมายในการประเมินผลงานในองค์กร
  • เครื่องจักรหมดอายุ กับคนหมดอายุ เครื่อง จักรที่เราเอามาใช้นั้น พอครบอายุขัยการทำงานของมัน เรากลับพยายามที่จะหาทาง Modify กันใหม่ ให้สามารถใช้งานต่อไปได้อีก โดยรู้สึกเสียดายและไม่อยากที่จะต้องทิ้งมันไป ก็พยายามหาทางเปลี่ยน แก้ไข หรือเอาสิ่งที่ใช้ได้ ไปใช้งานต่อ แต่ถ้าเป็นเรื่องของคน พอหมดอายุการทำงาน (เกษียณ) นายจ้างก็พยายามที่จะให้รีบๆ ไป โดยบางครั้งไม่เคยคิดถึงประสบการณ์ของคนเหล่านี้เลย มองแค่เพียงว่าเป็นคนที่หมดอายุการทำงานแล้ว และอยากให้ออกจากองค์กรไปเร็วๆ ไม่เคยคิดถึงการให้รางวัล การให้ความสำคัญกับคนคนนี้ว่าเคยสร้างผลงานที่ยิ่งใหญ่ให้กับองค์กรมาก่อน หรือไม่ รู้แค่เพียงว่าถึงเวลาแล้วก็ออกไปซะ
นี่เป็นตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริงๆ ในบางองค์กร ที่ย้ำแล้วย้ำอีกว่า ทรัพยากรบุคคลมีความสำคัญมาก แต่พอถึงเวลาที่จะต้องบริหารกันจริงๆ กลับไม่เคยให้ความสำคัญกับทรัพยากรบุคคลเลยสักนิด มองเครื่องจักรสำคัญกว่ามากมาย
แล้วองค์กรของคุณล่ะครับ ให้ความสำคัญกับทรัพยากรบุคคล หรือ เครื่องจักรมากกว่ากัน

วันอังคารที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

กิจกรรมการตลาดดีๆ ที่พาลูกค้าไปเยี่ยมชมโรงงานผู้ผลิต เครื่องพันช์ เครื่องพับ งานโลหะแผ่น ณ Murata Machinery, Ltd. เมืองInuyama ประเทศญี่ปุ่น 
จัดขึ้นเป็นปีที่ 2 ระหว่างวันที่ 26-29/10/2558 เพื่อตอกย้ำความมั่นใจในคุณภาพของสินค้า และการบริการ ว่าไอไอที กรุ๊ป นำเข้าจัดจำหน่ายสินค้าคุณภาพ จากญี่ปุ่น ของแท้100%





จบทริป Factory tour ครั้งที่ 2 ขอบคุณลูกค้าผู้มีอุปการะคุณทุกท่านที่ให้การสนับสนุน ไอไอที ของเรา เครื่องพันช์ เครื่องพับ งานโลหะแผ่น ไว้ใจเรา ไอไอทีกรุ๊ป  




สนใจปรึกษาและสอบถามได้ที่ เอกชัย ไอไอที กรุ๊ป 084-7711559 หรือwww.iitgroup.in.th
เราพร้อมให้บริการ คำแนะนำ ปรึกษา เกียวกับ เครื่องพันช์ เครื่องปั้ม Turret Punch Press Murata 

#‎Murata‬#Muratec# เครื่องพันช์#Punch#Punching#Turret Punch Press#Turret Punch#มูราตะ#Murata punch#Murata Punching#muratec Punch#muratec Punching#งานพันช์#งานโลหะแผ่น#เครื่องพันช์ cnc
ในงานเครื่องพันซ์ (Punch Press Machine) นั้น ปัจจัยที่มีผลต่อแรงกดเพื่อที่ใช้ในการเจาะแผ่นเหล็กให้ทะลุนั้น มีอยู่หลายปัจจัยด้วยกัน จึงเป็นที่มาของการคำนวณแรงพันซ์ในหนึ่งครั้ง (One-Punch) เพื่อป้องกันไม่ให้เกินกว่า แรงกดของเครื่องจักรที่สามารถให้ได้ และเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่ออุปกรณ์ต่างๆ เช่นกัน

ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ปัจจัยที่มีผลต่อแรงพันซ์มีดังนี้

1. ชนิดของแผ่นเหล็ก (Material type)
2. ความหนาของแผ่นเหล็ก (Material thickness)
3. ขนาดความโตของรูเจาะ (Diameter or Circumference)
4. ค่าสัมประสิทธ์ของการตัดเฉือน (Shearing coefficient)

สามารถคำนวณได้จากสูตรการคำนวณดังต่อไปนี้

ดังตัวอย่าง

เหล็กธรรมดา (SPCC) ความหนา 3.2t รูเจาะขนาด 50 mm. โดยพันซ์มีมุมตัดเฉือนที่ 2.4 mm.

Shearing strength




Shearing coefficient


หวังว่าจะมีประโยชน์ในการใช้คำนวณแรงพันซ์ของเครื่องจักรอย่างถูกต้อง

ความรู้ดีๆจากเรา IIT Group
#MURATA #MURATEC