การป้องกันอันตรายจากเครื่องจักรกล
(Working safety with machine)
การป้องกันอันตรายจากเครื่องจักรกลหรือการทำการ์ดเครื่องจักร หมายถึง การกระทำใดๆ ก็ตาม ที่ส่งผลให้เครื่องจักรมีลักษณะหรือคุณสมบัติที่ปลอดภัยต่อการปฏิบัติงานอย่างปกติ โดยไม่มีผลต่อสมรรถนะของ เครื่องจักรหรือต่อความชำนาญของเครื่องจักรกลนั้นทำงาน การทำการ์ดเครื่องจักรกลมีหลายลักษณะขึ้นอยู่กับลักษณะของเครื่องจักรกล
แบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ เครื่องต้นกำลัง (Prime mover machinery) เครื่องส่งกำลัง (Transmission machinery) เครื่องจักรทำการผลิต (Production machinery) เป้าหมายในการออกแบบการ์ดเครื่องจักรกล
1. ให้การป้องกันอันตรายตั้งแต้ต้นมือ หมายความว่า เครื่องจักรกลต้องไม่ทำงานหากมีสิ่งแปลกปลอมไปอยู่ใน บริเวณอันตรายของเครื่องจักรกลนั้น ลักษณะของการ์ดประเภทนี้ให้ ความปลอดภัยสูง
2. ให้การป้องกันมิให้ส่วนของร่างกายเข้าใกล้เขตอันตราย ในบางครั้งการควบคุมเครื่องจักรกลในทันทีทันใด อาจจะกระทำไม่ได้หรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ระบบ เครื่องจักร ดังนั้น การต่อเติมชิ้นส่วนบางชิ้นส่วนเข้าไป แล้วป้องกันอันตรายได้จึงเป็นทางเลือกที่ดี
3. ให้ความสะดวกแก่ผู้ทำงานเช่นเดียวกับที่ไม่ใส่การ์ด การ์ดที่ดีไม่ควรรบกวนต่อการทำงานของพนักงาน ไม่ว่าจะเป็นการมอง การจับชิ้นงาน การควบคุมการทำงานและการตรวจวัดขนาด
4. การ์ดที่ดีไม่ควรขัดขวางผลผลิต การใช้แผ่นกั้นหรือการมีปุ่ม 2 ปุ่มใน เครื่องปั๊มขึ้นรูปให้ความปลอดภัยแก่คนงาน อาจจะทำให้ช้าบ้างแต่ก็ต้อง ยอมรับผลผลิตกับความปลอดภัย ความปลอดภัยต้องมาก่อน
5. การ์ดเครื่องจักรกลควรใช้งานอย่างอัตโนมัติหรือด้วยแรงงานน้อยที่สุด เมื่อเครื่องจักรเริ่มทำงาน การ์ดต้องทำงานทันทีถ้ามีการเคลื่อนย้ายเครื่อง ต้องไม่ทำงาน อาจจะมีการใช้ตาไฟฟ้าช่วยได้
6. การ์ดควรเหมาะสมกับงานและกับเครื่องจักรนั้นๆ การ์ดที่สวยงามหรูหรา และสมบูรณ์แบบนั้น บางครั้งอาจจะไม่มีประโยชน์ในการป้องกันอันตรายเลย เพราะขัดขวางกับการทำงานระหว่างคนกับเครื่อง
7. พนักงานจำเป็นต้องถอดออก
8. การ์ดที่ดีควรมีลักษณะติดมากับเครื่องเป็นชิ้นส่วนหนึ่งของ เครื่องมีความปลอดภัยในตัวสูงอยู่แล้ว
9. การ์ดที่ดีควรเอื้ออำนวยต่อการเติมน้ำมันหรือซ่อมบำรุงฝา ครอบเครื่องจักรที่ปิดครอบชุดเฟืองหรือสายพาน ควรทำ ให้เปิดซ่อมบำรุง
10. การ์ดที่ดีควรทนทานต่อการใช้งานปกติและมีการบำรุงรักษาน้อยที่สุด ฝาคือส่วนที่อยู่นอกสุดถ้าไม่แข็งแรง ทนทาน อาจเป็นอันตรายต่อชิ้นส่วนภายในได้
11. การ์ดเครื่องจักรที่ดี ควรป้องกันอันตรายที่ไม่ได้คาดหมายได้ดี นอกจากอันตรายที่มองเห็นเฉพาะหน้า หมายความว่า ต้องป้องกันได้ทุกสถานการณ์ การทำงานกับเครื่งจักรต้องระมัดระวัง หลักการทำการ์ดเครื่องจักรกล
การทำการ์ดให้เกิดความปลอดภัยในการใช้เครื่องจักรกล มี 4 ประการ สำคัญดังนี้
ก. หลักการป้องกันหรือขัดขวางมิให้เข้าไปสัมผัสจุดอันตรายของเครื่อง ได้แก่ ออกแบบเครื่องจักรโดยวางจุดอันตรายไว้ภายใน จำกัดขนาดของช่องเปิดมิให้มือหรืออวัยวะอื่นเข้าได้ จัดช่องวางที่เหมาะสมเพื่อป้องกันมิให้เกิดการหนีบอัด หรือกระแทกของอวัยวะระหว่างผิวงานของเครื่องจักร แผ่นหรือตะแกรงปิดกั้นถาวร มิให้ส่วนที่มีอันตรายโผล่ หรือเปิดเผย ต่อการสัมผัสได้ เมื่อมีปัญหาควรร่วมกันคิดเพื่อแก้ไข
ข . หลักการควบคุมโดยให้มือออกพ้นจากบริเวณอันตราย ได้แก่ การใช้ปุ่มควบคุม 2 ปุ่ม การใช้ชุดควบคุมที่อยู่ใกล้ (Remote Control)
ค. หลักการเครื่องจะไม่ทำงานถ้าไม่เอามือออกไปจากเขตอันตราย ได้แก่ การใช้ระบบลำแสงนิรภัย การใช้ก้านหรือราวป้องกันที่ควบคุมด้วยเครื่องที่เรียกว่าราวนิรภัยหรือฝาครอบนิรภัย
ง. หลักการปัดให้พ้นเขตอันตรายก่อนทำงาน ซึ่งได้แก่ เครื่องปัดมือออกก่อนตัด ตะแกรงกดหรือกวาดสิ่งกีดขวางก่อนใบมีดจะเคลื่อนไป
การทำงานกับเครื่องจักรที่ใช้มือต้องมั่นใจว่าปลอดภัย ตัวอย่างประยุกต์การใช้งานหลักการทำการ์ดเครื่องจักรกล
1. การจัดช่องเปิดที่ปลอดภัย โดยการทำตะแกรงหรือกรงแผ่นกั้นเพื่อขัดขวางมิให้นิ้วมือเข้าไปสามารถ มองเห็นภายในได้ขนาดที่เหมาะสมของช่องเปิดที่ปลอดภัยเป็นดังนี้ ระยะจากช่องเปิดถึงจุดอันตราย (นิ้ว) ความกว้างสูงสุดของช่องเปิด (นิ้ว) 0-1.5 1/4 1.5-2.5 3/8 2.5-3.5 1/2 3.5-5.5 5/8 5.5-6.5 3/4 6.5-7.5 7/8 7.5-8.5 11/4 2. การใช้ปุ่มควบคุม
2 ปุ่ม สำหรับการทำงานคนเดียว ข้อดีของการใช้ปุ่ม 2 ปุ่ม 1. มือของคนงานจะต้องออกจากจุดอันตรายบนเครื่อง 2. มือข้างหนึ่งข้างใดปล่อยจากปุ่ม เครื่องจะไม่ทำงาน ข้อจำกัดในการใช้การ์ดแบบนี้ 1. ใช้ไม่ได้กับงานที่คนงานต้องจับชิ้นงาน 2. เมื่อคลัทช์ชำรุด ชุดหัวอัดอาจทำงานซ้ำเป็นครั้งที่ 2 อาจทำอันตรายแก่มือคนงานได้
3. การใช้ระบบแสงนิรภัย โดยการใช้หลักว่าลำแสงถูกบังจะทำให้เครื่องหยุดทำงานไม่ว่ากรณีใดๆ หากเกิดความบกพร่องต่อระบบแสงทำให้แสงดับ เครื่องจะต้องไม่ทำงาน ข้อดีในการใช้งาน
1. ไม่มีชิ้นส่วนเครื่องกลที่เป็นวัสดุแข็งหรือโลหะอื่นใดขวางหน้าอยู่ ทำให้สะดวกแก่การทำงานมาก
2. คนควบคุมเครื่องมองเห็นได้ทั่วถึง
3. ใช้กับเครื่องขนาดใหญ่ที่ทำงานหลายแบบ ซึ่งไม่เหมาะกับ การใช้การ์ดชนิดอื่น ข้อจำกัดในการใช้การ์ดแบบนี้
1. จะใช้กับเครื่องตัดที่สามรถหยุดได้ทุกขณะที่หัวตัดหรือ หัวอัดชนิดที่กำลังเคลื่อนตัวลงมาเท่านั้น ชนิดที่ เคลื่อนแล้วหยุดจะใช้ไม่ได้ บริเวณแสงส่องต้องห่างจากจุดอันตรายมากพอที่จะมีเวลา ให้เครื่องหยุดก่อนทัน ก่อนมือจะเข้าไปถึง 2. ต้องมีจำนวนแสงกว้างพอจึงจะปลอดภัย ต้องหมั่นตรวจและซ่อมบำรุง เพราะหากขาดไป 1 ดวงเครื่องจะ ไม่ทำงาน
4. การใช้ก้านนิรภัย ก้านนิรภัยมีหลายลักษณะ ทำงานด้วยการกวาดหรือปัดผ่านหน้าบริเวณอันตราย ก่อนที่อันตรายจะเกิด ข้อดีในการใช้งาน 1. ใช้ได้กับเครื่องอัดขนาดเล็กๆ เท่านั้น ขนาดกว้างไม่เกิน 6 นิ้ว 2. การเคลื่อนที่ของก้านนิรภัยเป็นไปตามการเคลื่อนที่ของหัวอัด แม้ว่าคลัทช์จะทำงานผิดพลาดทำให้หัวอัด เคลื่อนตัวลงมา แขนนิรภัยก็จะทำงานอีกคู่กัน จึงปลอดภัยกว่า 3. ตัวการ์ดแบบนี้ง่ายแก่การปรับ ข้อจำกัดในการใช้การ์ด 1. ความยาวของก้านนิรภัยจะต้องมากพอต่อการแกว่งและปัดในระยะ ที่ยาวเท่ากับความยาวของช่วงอันตราย ถ้างานยาวมากก้านยาวจะไม่สะดวก 2. ในกรณีที่แท่นปั๊มมีขนาดใหญ่ หากมือคนงานเกิดติดอยู่ในแท่นแขนของคนงานอาจหักได้จาก การปัดของก้าน 3. การใช้ก้านนิรภัยมิได้ห่อหุ้มหรือปิดกั้นอันตรายไว้แต่อย่างใด
5. การใช้เครื่องดึงมือออกก่อนการทำงาน ข้อดีในการใช้งาน Shawpat1. เครื่องจะดึงมือคนงานออกทุกครั้งในจังหวะที่หัวอัดเคลื่อนที่ลงมา โดยความตั้งใจหรืออุบัติเหตุก็ตามจึงปลอดภัย 2. อุปกรณ์ดึงมือนี้ต่อกับเครื่องจึงไม่ต้องเพิ่มแรงงานหรือความยุ่งยากใดๆ เพิ่มจากการทำงานปกติของคนงาน 3. ให้ความปลอดภัยสูง หากได้รับการออกแบบและปรับระยะให้เหมาะสม 4. ไม่ขัดขวางหรือบังสายตาคนงานแต่อย่างใด ข้อจำกัดในการใช้การ์ดนี้ 1. ใช้ได้เฉพาะกับระบบงานสมบูรณ์แบบคนงานไม่ต้องเดินไปไหนเท่านั้น 2. เกิดเหตุฉุกเฉินคนงานอาจตกใจและวิ่งหนีออกไปไม่ทัน 3. คนงานอาจละเลยต่อการสวมลวดดึงเข้ากับข้อมือก็ได้ 4. การปรับระยะดึงที่เหมาะสมต้องกระทำอยู่เสมอ 5. เมื่อเปลี่ยนชิ้นงานที่มีขนาดผิดไปต้องปรับระยะดึงให้เหมาะสมใหม่
6. หากแท่นหัวเคลื่อนที่สั้นๆ ต้องมีระบบรอกทดสอบ เพื่อขยายระยะชักให้เพียงพอ 7. ต้องใช้เนื้อที่หนาแทนเครื่องบางส่วนในการติดตั้งอุปกรณ์ ทำให้เปลืองเนื้อที่ไปบ้าง 6. การใช้แผ่นกั้นเคลื่อนที่ได้ ข้อดีในการใช้งาน 1. เมื่อแผ่นกั้นยกเลื่อนขึ้น แท่นหัวอัดจะไม่เคลื่อนตัวลงมาเด็ดขาด ทำให้ปลอดภัย 2. ตราบใดที่แผ่นกั้นปิดไม่สนิท เครื่องจะไม่ทำงาน 3. ปรับปรุงเพื่อเปลี่ยนแบบเป็นวิธีอื่นๆ ได้ ข้อจำกัดในการใช้การ์ดนี้ 1. หากกลไกควบคุมคลัทช์บกพร่อง แผ่นกั้นอาจไม่สามารถล็อกชุดหัวอัดมิให้เคลื่อนตัวลงมาได้ 2. หากออกแบบไว้ไม่เหมาะสม อาจกดลงด้วยแรงมากเกินไป อาจเป็นอันตรายต่อคนคุมเครื่องโดยตรง
7. การใช้แผ่นกั้นแบบอยู่กับที่ แผ่นกั้นแบบนี้เป็นได้ทั้งโลหะ แผ่นพลาสติก ตะแกรงลวดหรือ ตะแกรงเหล็กที่มีขนาดเล็ก พอที่จะไม่ให้มือลอดผ่านได้ เหมาะสมกับเครื่องที่มีกำลังการทำงานจำกัด ชิ้นงานมี ความเปลี่ยนแปลงขนาดไม่มาก ตัวอย่างที่เหมาะสมคือ เครื่องตัดโลหะแผ่น ซึ่งจะตัดโลหะที่ความหนาจำกัด จะเปลี่ยนเฉพาะขนาดความกว้างเท่านั้น ดังนั้นสามรถติดตั้งแผ่นกั้นอย่างถาวรได้ โดยทิ้งช่องห่างของทางเข้าออก มีค่าที่ปลอดภัย
8. การใช้แผ่นกั้นชนิดพับได้
9. การใช้คนเจ็บเป็นตัวป้องกันอันตราย หลักการคือ คนงานที่ได้รับอันตรายจะหมดสติ จะต้องกระโดด หรือเคลื่อนที่ตำแหน่งเท้าไปจากเดิม ดังนั้น ตำแหน่งวางเท้าใช้ควบคุมเครื่องได้ คนงานจะเหยียบคันบังคับที่เท้า ข้างใดก็ได้เครื่องจึงจะทำงาน เมื่อประสบอันตรายปล่อยขาเหยียบจะหยุดทำงานทันที
10. ใช้เครื่องมือจับชิ้นงานป้อนแทนมือ ซึ่งอาจจะเห็นว่าถนัดสู้ใช้มือไม่ได้แต่ในระยะแรกอาจไม่ชำนาญ แต่เมื่อเวลาผ่านไปจนทำงานชำนาญแล้ว ความรวดเร็วจะใกล้เคียงกันมาก เครื่องมือจับชิ้นงานอาจประกอบด้วย ตะขอเกี่ยว คีมคีบ คีมหนีบ แผ่นแซะ หัวจับด้วยแม่เหล็ก หัวจับด้วยสุญญากาศ Shawpat ปัจจัยในการพิจารณาในการเลือกใช้ เครื่องมือจับชิ้นงาน 1. ออกแบบเครื่องมือให้ใช้สะดวกและถนัดมือที่สุด เช่น น้ำหนักเบา ได้ศูนย์ มีด้ามจับสะดวก หยิบง่าย 2. คีมหนีบแบบต่างๆ ควรติดสปริงคายไว้ เพื่อให้คีมคายปากคีบออกได้เองเมื่อปล่อยมือออก 3. เพื่อลดความสึกหรอของแม่พิมพ์หรือขอบชิ้นงานตรงปลายหนีบของคีมจับควรสวมต่อด้วยวัสดุอ่อน ที่เหมาะสม 4. วัสดุที่ใช้ทำคีมควรคงทนต่อสภาพการใช้งาน โดยเฉพาะตรงปากจับไม่ควรเป็นสนิม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น