6. เกลียวหนอนบราวแอนด์ชาร์ป ( Brown and Shape Worm Thread )คือเกลียวหนอนที่ใช้เฟืองหนอนมีมุมยอดเกลียว 29 องศาต่างจากเกลียว Acme ตรงสูตรในการคำนวณ
7. วิธีการ Tap เกลียวในด้วยมือ
วัสดุที่ใช้ทำ Tap
จะทำจากเหล็กกล้าผสมคาร์บอน ( carbon steel ) หรือเหล็กกล้าความเร็วรอบสูง ( high speed steel ) และจะผ่านกระบวนการทำให้แข็ง และอบคืนตัว ดังนั้น Tap จะมีความแข็งมากแต่จะหักง่าย
7.1 เครื่องมือทำเกลียวหนึ่งชุดมีสามตัว ประกอบด้วย
7.1.1 ตัวเรียว ( Taper Tap ) แท๊ปตัวนี้จะทำฟันเกลียวให้เรียวตอนปลายประมาณ 6 – 7 ฟัน แล้วจึงถึงฟันเต็ม เพื่อจะใช้กับงานที่ต้องการทำเกลียวในระยะเริ่มแรกทั้งนี้เพื่อต้องการทำให้ตัวเกลียวในทำงานตัดเบาๆ เป็นเกลียวนำในระยะเริ่มแรกและทำงานได้เที่ยงตรง ถ้างานที่มีขนาดบาง การทำเกลียวก็จะสิ้นสุดที่ตัวที่หนึ่งนี้
7.1.2. ตัวตาม ( plug Tap ) แท๊ปตัวนี้จะทำฟันเรียวที่ตอนปลายประมาณ 3 – 4 ฟัน ใช้ในการทำเกลียวงานที่มีขนาดหนาๆ ซึ่งเป็นตัวที่ใช้ทำเกลียวในระยะขั้นสองหลังจากเกลียวที่ทำนั้นได้ผ่านการใช้ตัวเรียวมาแล้ว ทั้งนี้ก็เพื่อต้องการทำเกลียวในระยะนี้ให้ดีขึ้น และเพื่อป้องกันการหักชำรุดของเครื่องมือทำเกลียวใน ในบางครั้งอาจใช้ตัวที่สองนี้ทำเกลียวในระยะเริ่มแรกได้ แต่ต้องใช้ความระมัดระวังให้มาก
7.1.3. ตัวสุดท้าย ( Bottoming Tap ) แท๊ปตัวนี้ที่ปลายของฟันเกลียวจะไม่มีเรียวเป็นตัวที่ใช้งานทำเกลียวในขั้นสุดท้าย หลังจากที่ได้ทำเกลียวโดยใช้ตัวสุดท้ายนี้ไปแล้วจะได้สันเกลียวถูกต้องสมบูรณ์ถึงก้นรู
รูปที่ 1จ ส่วนประกอบลักษณะของ Tap หนึ่งชุดมี 3 ตัว
7.2. ด้ามจับแท๊ป ( Tap Wrench )
เครื่องมือที่ใช้จับแท๊ป เพื่อหมุนทำเกลียวในนั้นเราเรียกว่าด้ามจับแท๊ปมีอยู่ 2 แบบด้วยกันคือ
7.2.1. ด้ามจับแบบตัวที ( T – Handle tap wrench ) ด้ามจับนี้ใช้กับตัวทำเกลียวในที่มีขนาดเล็กๆ และใช้ทำเกลียวในที่แคบจำกัด
7.2.2. ด้ามจับแบบปรับแต่งได้ ( Adjustable tap wrench ) ใช้สำหรับจับทำเกลียวในที่มีขนาดเล็กหรือใหญ่ได้ หลายขนาด และใช้ทำเกลียวงานทั่วๆไป ซึ่งด้ามจับแบบนี้นิยมใช้กันมากดังรูป(ยกมาเฉพาะ ด้ามจับแบบปรับแต่งได้)
รูปที่11ด้ามจับแท๊ปแบบปรับแต่งได้
การหาขนาดของรูที่เจาะเพื่อทำเกลียวใน สามารถหาได้จากการคำนวณได้ดังนี้
เกลียวเมตริก( metric )หาได้จากสูตร
ขนาดของรูที่เจาะเพื่อทำเกลียว = f นอกของเกลียว –P ระยะพิตช์ มม.
และเมื่อ
M = ระบบเมตริก หน่วย มิลลิเมตร ( มม. )
f = เส้นผ่านศูนย์กลาง
P = ระยะพิตช์ ( pitch )
ตัวอย่างที่ 1 ต้องการทำเกลียวขนาด M12 X 1.75 จะต้องใช้ใช้ดอกสว่านเจาะรูขนาดเท่าไร
วิธีทำ ขนาดของรูที่เจาะเพื่อทำเกลียว = f นอกของเกลียว – ระยะพิตช์ ( pitch )
= 12 – 1.75
= 10.25มม.
นั่นคือต้องให้ดอกสว่านขนาด 10.25 มม. เพื่อทำเกลียวขนาด M12 x 1.75 ตอบ
7.3. ลำดับขั้นตอนปฏิบัติการทำเกลียวในโดยการใช้แท๊ป สำหรับวิธีการตัดเกลียวด้วยแท๊ปมีลำดับขั้นการทำงานดังต่อไปนี้
7.3.1. จับชิ้นงานด้วยปากกา ( clamp ) ให้มั่นคง และพยายามจับชิ้นงานให้อยู่ในตำแหน่งที่ทำงานได้สะดวก
7.3.2 สวมแท๊ปชนิดตัวเรียว ( taper tap ) ลงในรูให้ได้แนวดิ่ง ควรใช้ฉากขนาดเล็กช่วยตรวจสอบ เพื่อให้แท๊ปตั้งตรง
รูปที่ 12 การตั้งลำตัวแท๊ปให้ตั้งฉากกับชิ้นงาน
7.3.3 ใช้มือจับด้ามแท๊ปให้ใกล้แท๊ปมากที่สุด และเริ่มต้นหมุนแท๊ป หมุนไปตามเข็มนาฬิกา ใช้กำลังกดพอเหมาะอย่าให้เอียง
รูปที่ 13 การเริ่มต้นตัดชิ้นงานด้วย Tap
7.3.4. ให้เปลี่ยนตำแหน่งของมือที่ใช้จับด้ามแท๊ปใหม่และให้หมุนไปข้างหน้าประมาณ 1/4 รอบ แล้วหมุนกลับจนเศษโลหะหลุดลงไป แล้วหยอดน้ำมันระบายความร้อน
7.3.5. หมุนข้างหน้าประมาณ 1/4 รอบ หมุนกลับ ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนสุดระยะของแท๊ปหรือสุดระยะของงานที่ต้องการทำเกลียวดังรูปที่ 5
รูปที่ 14 การจับด้ามและจับ Tap หลังจากที่ได้เริ่มต้น
7.3.6. เปลี่ยนตัวทำเกลียวตัวที่สองและตัวที่สาม ตามลำดับ
7.3.7. ทำเกลียวตัวสุดท้ายเสร็จ เมื่อเลิกใช้ต้องเช็ดให้สะอาดและเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
ข้อควรระวังในการทำเกลียวในด้วยมือ สามารถพิจารณาได้ดังนี้
· เศษโลหะที่เกิดจากการตัดเกลียวจะมีความคม จะต้องใช้แปรงปัดออก ไม่ควรใช้มือเพราะจะทำให้เกิดอันตรายได้
· ทำความสะอาดมือ ชิ้นงาน พร้อมทั้งเครื่องมือเสมอ หลังจากที่ทำงานเสร็จทุกครั้ง
· เวลาหมุนดอก TAP ควรหมุน ¼ รอบแล้วถอยหลังเพื่อป้องกันดอก TAP หัก
ขนาดรูเกลียวเมตริก
เกลียว
|
M3
|
M3.5
|
M4
|
M5
|
M6
|
M8
|
M10
|
M12
|
M14
|
M16
|
M18
|
M20
|
M22
|
M24
|
รูเจาะในเหล็กกล้า
|
2.5
|
2.9
|
3.3
|
4.2
|
5
|
6.5
|
8.5
|
10
|
12
|
13.75
|
15.25
|
17.25
|
19.25
|
20.75
|
เหล็กหล่อ
|
2.4
|
2.8
|
3.2
|
4.1
|
4.8
|
6.5
|
8.2
|
9.9
|
11.5
|
13.5
|
15
|
17
|
19
|
20.5
|
7.4. การทำเกลียวนอกด้วยมือ(Dieing)
ดายส์เป็นเครื่องมือที่ใช้ทำเกลียวนอกมีลักษณะกลมหรือเป็นรูปแท่งสี่เหลี่ยม ซึ่งมีรูอยู่ตรงกลางมีเกลียวและมีร่องเป็นคมตัดสามารถตัดหรือทำเกลียวบนชิ้นงานกลมได้
ดายส์สำหรับตัดเกลียวด้วยมือมี 2 ลักษณะคือ
7.4.1ลักษณะกลม(Adjustable Round Dies)และมีการปรับขยายรูที่จะทำเกลียวให้ใหญ่หรือเล็กได้ตามต้องการ ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการควบคุมเส้นผ่าศูนย์กลางของชิ้นงาน และความแน่น(fit) ของเกลียว
7.4.2 ลักษณะเหลี่ยมแบ่งเป็นชนิดสี่เหลี่ยม(Solid Square Dies) และหกเหลี่ยม(Solid hexagon Dies)หรือแบบผ่าซีก(two piece die) อาจจะเป็นชิ้นเดียวหรือแยกเป็น2 ชิ้นเวลาจะนำมาใช้งานจะต้องนำมาประกอบกันโดยนำไปใส่ไว้ในด้ามดายส์และยึดให้แน่นด้วยสกรู ดายส์แบบนี้ไม่ค่อยมีที่นิยมใช้
พิจารณาลักษณะของดายส์แบบต่างๆ ได้ดังรูปที่ 15
รูปที่15 ลักษณะของดายส์แบบต่างๆ
ดายส์ชนิดที่มีเกลียวซ้าย โดยจะมีอักษร LH ตีไว้บนตัวดายส์ดายส์ชนิดที่มีเกลียวขวาจะเอาไว้ตัดเกลียวขวา และจะไม่มีอักษรอะไรแสดงให้เห็น การบอกขนาดของดายส์ในระบบอเมริกัน จะแสดงให้เห็นถึงจำนวนเกลียวต่อนิ้วที่อยู่บนลำตัวของดายส์ เช่น 1\4 – 20 NC หมายถึงดายส์ชนิดนั้นจะมีเกลียวตัด 20 เกลียวต่อนิ้วบนชิ้นงานที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง1\4 นิ้ว และตัดเกลียวหยาบในระบบอเมริกันเป็นเกลียวขวา ซึ่งการกำหนดขนาดจำนวนเกลียวต่อนิ้วจะกำหนดตามมาตรฐานของเกลียวชนิดนั้นๆ สำหรับเกลียวระบบเมตริกจะบอกโดยการใช้อักษร M ต่อด้วยเส้นผ่าศูนย์กลางที่ใหญ่ที่สุดของเกลียว (มิลลิเมตร) คูณด้วยระยะพิต เช่น M 2.5 x 0.45 อักษร M หมายถึงเกลียวในระบบเมตริกมีเส้นผ่าศูนย์กลางที่ใหญ่ที่สุดของเกลียว 2.5 มิลลิเมตร และระยะพิตเท่ากับ 0.45 มิลลิเมตร
รูปร่างของดายส์ เกลียว
1. คมตัด
2. ร่องคายเศษโลหะ
3. ร่องแยก
4. มุมหลบ
5. ด้านหน้า
รูปที่16 รูปร่างของดายส์
ด้ามจับดายส์(Die Stock) จะมีลักษณะในรูปที่ 3 เอาไว้สำหรับจับดายส์และจับตัวดายส์ เมื่อหมุนด้ามจับดายส์ ดายส์ก็จะตัดชิ้นงานให้เป็นเกลียว บางครั้งเราอาจจะเรียกสั้นๆว่า ด้ามจับ (Stock)
รูปร่างของด้ามจับดายส์ ประกอบด้วย
1. ด้ามหมุน
2. รูสำหรับสวมดายส์
3. เกลียวยึดหรือสกรูยึด
รูปที่17 รูปร่างด้ามจับดายส์
- ก่อนที่จะทำการดายส์เกลียว ควรตรวจสอบขนาดของเกลียวและระยะพิทซ์ของเกลียวที่ต้องการทำเกลียวในเพื่อเลือกขนาดของดายส์ได้ถูกต้องด้วยหวีวัดเกลียว(Screw Pitch Gauge)รูปที่ 9
การใช้หวีวัดเกลียวนอก
รูปที่18 Screw Pitch Gauge
รูปที่19 ลักษณะการจับโบล์ทและหวีวัดเกลียววัดเกลียวนอก
วิธีการประกอบดายส์กับด้ามจับ
- เลือกด้ามจับดอกดายส์ที่สวมกับดายส์ได้พอดีดังรูปที่6
- ถ้าเลือกดอกดาย แบบมีร่องผ่า ควรใช้ด้ามจับดายที่มีสกรู 3 ตัวโดยขันสกรูตรงกลางให้ตรงร่องผ่าตัวแรก และขันสกรูตัวริมทั้งสองข้างภายหลัง
- การใส่ดอกดายส์แบบไม่มีร่องผ่า ควรขันสกรูตัวกลางเป็นอันดับแรกเช่นเดียวกัน
- ลักษณะด้ามจับดายส์ สกรูทีใช้ยึดดอกดายส์ โดยทั่วๆไปเป็นหัวผ่า
- ในการปรับสหรูให้ใช้ไขควงขันสกรูหัวผ่า อย่าใช้คีมหรือปากาจับบดซึ่งจะทำให้หัวสกรูชำรุดได้ดังรูปที่ 12
รูปที่20 ดายส์และด้ามดายส์
รูปที่ 20 การยึดดายส์และด้ามจับดายส์
การปฏิบัติการตัดเกลียวนอก
- ชิ้นงานที่ต้องการดายส์เกลียวขอบที่เริ่มต้นดายส์เกลียวควรใช้ตะใบหรือเครื่องกลึงหลบมุมโดยรอบประมาณ 20 ◦และยาว 2 มิลลิเมตรทั้งนี้เพื่อให้การตัดเกลียวฟันแรกสะดวกและเรียบร้อยยิ่งขึ้นรูปที่ 13
รูปที่ 21 การตะใบชิ้นงานตอนปลายให้มนก่อนจะนำไปตัดเกลียว
- การจับดอกดายส์เกลียวในด้ามจับ(Stock) ควรให้ร่องบ่ารับดายส์ อยู่ด้านบนขณะดายส์รูปที่ 14
รูปที่ 21
- ขณะดายส์เกลียวนอกต้องวางด้ามจับดายส์ให้ตั้งฉากกับชิ้นงาน ละชิ้นงานจะต้องจับด้วยปากกาจับงานให้แน่นไม่เอียงข้างใดข้างหนึ่ง
- การดายส์เกลียวนอกชิ้นงานควรจับด้วยปากกาถ้าต้องการยึดให้แน่นหนาควรใช้แผ่นรองเป็นแท่ง-วี ด้ามจับดายส์ และชิ้นงานขณะตัดเกลียวนอกต้องทำมุม 90 ทั้งสองแนว และปลายของงานต้องลบมุมดังรูป
รูปที่22
- การตัดเกลียวนอกที่มีบ่าด้วยดอกดายส์ ตัดเกลียวให้บ่าของด้ามจับอยู่ด้านบน และหมุนตัดเกลียวจนกระทั่งผิวด้านหน้าดายส์สัมผัสกับบ่างานเกลียวสุดท้ายที่ถูกคมตัดจะไม่ถึงบ่าชิ้นงานดังรูป
รูปที่23
- ขณะหมุนด้ามจับดอกดายส์ จะต้องออกแรงกดที่ด้ามทั้งสองข้างเท่าๆกัน และให้ตั้งฉากด้วย ครั้งแรกให้ใช้สองมือจับใกล้ๆ กับตำแหนงของดายส์
- หมุนด้ามจับดายส์อย่างช้าๆเมื่อได้เห็นว่าตัดเกลียวไป1/4 รอบให้หมุนกลับเพื่อคายเศษโลหะออกอย่าทำการหมุนติดต่อกันไปจนกระทั่งเสร็จการทำเกลียวดังรูป
รูปที่24
- ใช้วัสดุหล่อเย็นช่วยในการหล่อเย็นโดยหยอดเพียงเล็กน้อยที่ตอนปลายสุดของชิ้นงาน และระหว่างที่ยังทำการตัดเกลียวให้หยอดอยู่เรื่อยๆ
- หลังจากตัดเกลียวไปได้ 2 – 3ฟัน ให้หยุดตรวจดูว่าเครื่องมือทำเกลียวตั้งได้ฉากกับชิ้นงานหรือไม่ ถ้าไม่ได้ฉากต้องเรียบแก้ไขเสียใหม่
- ในการตัดเกลียวนอกในระยะเริ่มแรกจะต้องขยายรูที่ฟันดายส์ให้มีขนาดโตที่สุดก่อน เมื่อได้ทำเกลียวผ่านไปครั้งหนึ่งแล้วจึงค่อยๆลดขนาดของรูที่ฟันดายส์ลง โดยลดให้มีขนาดเล็กตามที่ต้องการ
ข้อควรระวังในการทำเกลียวนอกด้วยมือ สามารถพิจารณาได้ดังนี้
· เศษผงที่เกิดจากการตัดเกลียวจะมีความคม จะต้องใช้แปรงปัดออก ไม่ควรใช้มือเพราะจะทำให้เกิดอันตรายได้
· ควรใช้ดอกตัดเกลียวที่ใหม่และมีความคมอยู่เสมอ
· ทำความสะอาดมือ ชิ้นงาน พร้อมทั้งเครื่องมือเสมอ หลังจากที่ทำงานเสร็จทุกครั้ง
· ก่อนทำการตัดเกลียวจะต้องตรวจสอบว่าตัวตัดเกลียว(Dies) และตัวจับยึด(DiesStock) ยึดแน่นติดกัน เพราะถ้าหลุดออกจากกันขณะทำการตัดเกลียวอาจจะทำให้เกิดอันตรายได้
น้ำมันหล่อลื่นที่ใช้ในการตัดเกลียว
การหล่อลื่นเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการทำเกลียวด้วยดายส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำเกลียวชิ้นงานที่เป็นโลหะ น้ำมันหล่อลื่นที่จะใช้กับโลหะต่างๆมีดังตารางที่ 3
น้ำมันหล่อลื่นสำหับการตัดโลหะสามัญทั่วๆไป
ชนิดของโลหะ
|
การเลื่อยด้วยมือและเลื่อยกล
|
การเจาะรู
|
การคว้านเรียบ
|
การทำเกลียวดาย
|
การทำเกลียวแท๊ป
|
การทำลายบนเครื่องกลึง
|
เหล็กหล่อ
|
ตัดแห้ง
|
ตัดแห้ง
|
ตัดแห้ง
|
ตัดแห้ง
|
ตัดแห้งหรือน้ำมัน
|
น้ำมันพืช
|
เหล็กอ่อน
|
น้ำโซดา
|
น้ำโซดาหรือน้ำมันพืช
|
น้ำมันพืช
|
น้ำมันพืช
|
น้ำมันพืช
|
น้ำมันพืช
|
เหล็กกล้า
|
น้ำโซดา
|
น้ำโซดาหรือน้ำมันพืช
|
น้ำมันพืช
|
น้ำมันพืช
|
น้ำมันพืช
|
น้ำมันพืช
|
ทองแดง
|
น้ำโซดาหรือตัดแห้ง
|
น้ำมันหมูหรือน้ำมันก๊าด
|
น้ำมันหรือตัดแห้ง
|
น้ำมันพืช
|
น้ำมันพืช
| |
ทองเหลือง
|
ตัดแห้ง
|
ตัดแห้ง
|
ตัดแห้ง
|
ตัดแห้งหรือน้ำมัน
|
น้ำมันพืช
| |
บรอนซ์
|
ตัดแห้งหรือสบู่
|
ตัดแห้ง
|
ตัดแห้ง
|
น้ำมันพืช
| ||
อลูมิเนียม
|
น้ำมันสนหรือน้ำมันก๊าด
|
น้ำมันสนหรือน้ำมันก๊าด
|
น้ำมันสนหรือน้ำมันก๊าด
|
น้ำมันก๊าด
|
น้ำมันสนหรือน้ำมันก๊าด
| |
แก้ว
|
น้ำมันสนหรือน้ำมันก๊าด
|
น้ำมันสนหรือน้ำมันก๊าด
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น